www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 9 คน
 สถิติเมื่อวาน 31 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2265 คน
14089 คน
1706533 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

   

กำหนดการ
เนื่องในโอกาสพิธีเปิดป้ายมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
โดย ฯพณฯ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
ประธานในพิธี
และ พิธีมอบปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
แด่ ฯพณฯ ศ.ดร. อับดุลลอฮฺ บินอับดุลมุหฺซิน อัตตุรกี
เลขาธิการสันนิบาตโลกมุสลิม
วันพุธ ที่ 27 มิถุนายน 2550
ณ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

08.45 น. แขกผู้มีเกียรติ คณาจารย์ นิสิตนักศึกษา และประชาชนทั่วไป พร้อมกัน ณ หอประชุมวันมูหะมัดนอร์ มะทา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
09.00 น. นายกสภามหาวิทยาลัยอิสลามยะลา คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย อธิการบดี ประธานมูลนิธิเพื่อการอุดมศึกษาอิสลามภาคใต้ คณะกรรมการมูลนิธิเพื่อการอุดมศึกษาอิสลามภาคใต้ และคณะผู้บริหาร เดินทางมาถึง ณ บริเวณพิธี
09.05 น. เลขาธิการสันนิบาตโลกมุสลิมพร้อมคณะ เดินทางถึงมหาวิทยาลัย และเข้าสู่ห้องรับรอง
09.10 น. ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายวิจิตร ศรีสอ้าน ในฐานะผู้แทนฯพณฯนายกรัฐมนตรี ประธานในพิธี และคณะ เดินทางมาถึง มหาวิทยาลัย และเข้าสู่ห้องรับรอง
09.30 น. ประธานในพิธี เลขาธิการสันนิบาตโลกมุสลิมพร้อมคณะ นายกสภามหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย อธิการบดี ประธานมูลนิธิเพื่อการอุดมศึกษาอิสลามภาคใต้ คณะกรรมการมูลนิธิเพื่อการอุดมศึกษาอิสลามภาคใต้ และคณะผู้บริหาร เข้าสู่หอประชุมวันมูหะมัดนอร์ มะทา

09.35 น. อ่านคัมภีร์อัลกรุอาน
09.40 น. นายกสภามหาวิทยาลัยอิสลามยะลากล่าวต้อนรับ
09.50 น. ประธานมูลนิธิเพื่อการอุดมศึกษาอิสลามภาคใต้กล่าวรายงาน
10.00 น. ประธานในพิธีมอบใบอนุญาตเปลี่ยนประเภทเป็น มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา พร้อมกล่าวโอวาทและแสดงความยินดี
10.30 น. ประธานในพิธีกดปุ่มเปิดป้าย มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
10.40 น. อธิการบดีกล่าวสดุดีเกียรติคุณ และเบิก ฯพณฯ ศ.ดร.อับดุลลอฮฺ บินอับดุลมุหฺซิน อัตตุรกี เลขาธิการสันนิบาตโลกมุสลิมเข้ารับปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
11.00 น. นายกสภามหาวิทยาลัยอิสลามยะลาสวมเสื้อครุย และมอบปริญญาศิลปศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่ ฯพณฯ ศ.ดร.อับดุลลอฮฺ บินอับดุลมุหฺซิน อัตตุรกี เลขาธิการสันนิบาตโลกมุสลิม
11.10 น. ฯพณฯ ศ.ดร.อับดุลลอฮฺ บินอับดุลมุหฺซิน อัตตุรกี เลขาธิการสันนิบาตโลกมุสลิมกล่าวขอบคุณและแสดงปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "ภารกิจมุสลิมในสังคมพหุวัฒนธรรม"
11.20 น. เสร็จพิธี

คำกล่าวต้อนรับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา นายกสภามหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
เนื่องในโอกาสวันเปิดป้ายมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
และมอบปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แก่
ฯพณฯศ.ดร.อับดุลลอฮฺ บินอับดุลมุหซิน อัตตุรกี เลขาธิการสันนิบาตโลกมุสลิม
ณ หอประชุมวันมูหะมัดนอร์ มะทา วันที่ 27 มิถุนายน 2550
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ฯพณฯ รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี

ฯพณฯ ศ.ดร.อับดุลลอฮฺ บินอับดุลมุหซิน อัตตุรกี เลขาธิการสันนิบาตโลกมุสลิม

ฯพณฯ อารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่ากระทรวงมหาดไทย

สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้ว่าราชการจังหวัด อธิการบดี หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น ท่านผู้เกียรติทุกท่าน

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่านทั้งหลาย

ในนามสภามหาวิทาลัยอิสลามยะลา มูลนิธิเพื่อการอุดมศึกษาอิสลามภาคใต้ คณะผู้บริหาร คณาจารย์บุคลากรและนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ขอต้อนรับ ท่านประธานในพิธี ฯพณฯรองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และท่านผู้มีเกียรติทุกท่านเข้าสู่มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา และขอขอบคุณท่านประธานในพิธีเป็นอย่างสูง ที่ได้เสียสละเวลาอันมีค่ามาเป็นประธานในพิธีในวันนี้
วันนี้ วัน พุธ ที่ 27 มิถุนายน 2550 ประวัติศาสตร์การศึกษาในภูมิภาคถูกจารึกอีกครั้งหนึ่งว่า ด้วยความมุ่งมั่นและการพัฒนาที่ไม่เคยหยุดนิ่งของวิทยาลัยอิสลามยะลา บัดนี้ ความใฝ่ฝันอันยาวนานได้กลายเป็นความจริงแล้ว การกำเนิดของมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา จึงไม่เพียงแสดงถึง ประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษาแห่งนี้เท่านั้น แต่ยังบ่งชี้ศักยภาพของผู้บริหารคณาจารย์ บุคลากร และนิสิตนักศึกษาที่มีการพัฒนาการอย่างไม่หยุดนิ่ง และยังได้ พิสูจน์ให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาระบบการศึกษาของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จนเป็นที่ยอมรับว่ามหาวิทยาลัยแห่งนี้มีคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนทัดเทียมกับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และเป็นแหล่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกมารับใช้สังคมอย่างต่อเนื่องอีกด้วยในฐานะนายกสภามหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

กระผมขอยืนยันว่าจะมุ่งมั่นสร้างสรรค์ และพัฒนาสถาบันแห่งนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนความเป็นเลิศทางวิชาการต่อไปในวาระพิเศษนี้ สภามหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ได้มีมติมอบปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แก่ ฯพณฯ ศ.ดร.อับดุลลอฮฺ บินอับดุลมุหซิน อัตตุรกี เลขาธิการสันนิบาตโลกมุสลิม ซึ่ง ฯพณฯ ได้ให้เกียรติเข้าร่วมพิธีในวันนี้ด้วย จึงใคร่ขอบคุณ ฯพณฯ เป็นอย่างสูง และขอบคุณสันนิบาตโลกมุสลิม ที่ให้การสนับสนุนมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ตั้งแต่ยุคแรกของการก่อตั้งจนกระทั่งบัดนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศซาอุดีอาระเบียภายใต้การปกครองของเจ้าผู้ดูแลสองมัสยิด กษัติรย์อับดุลลอฮฺ อาลซาอูดที่ได้ให้ความสำคัญและให้ความช่วยเหลือแก่มุสลิมในประเทศไทยมาด้วยดีโดยตลอดกระผมใคร่ขอบคุณท่านผู้มีเกียรติทุกท่านอีกครั้ง โดยเฉพาะ ฯพณฯ รองศาสตราจารย์

ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานในพิธีที่เห็นคุณค่าและให้ความสำคัญของการพัฒนาด้านการศึกษามาโดยตลอดขอดุอาให้เอกองค์อัลลอฮฺ ทรงตอบแทนคุณงามความดีของท่านและตอบรับกุศลเจตนาท่านทั้งหลายที่เข้าร่วมพิธีในวันนี้ด้วย

วัสสลาม

 

คำกล่าวรายงาน
รองศาสตราจารย์ ดร.อิสมาแอ อาลี ประธานมูลนิธิเพื่อการอุดมศึกษาอิสลามภาคใต้
เนื่องในโอกาสวันเปิดป้ายมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
และมอบปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ณ หอประชุมวันมูหะมัดนอร์ มะทา
วันที่ 27 มิถุนายน 2550
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ฯพณฯ รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศีกษาธิการ ผู้แทน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี

กระผม รองศาสตราจารย์ ดร.อิสมาแอ อาลี ขออนุญาตรายงานการพัฒนาการของมหาวิทยาลัยอิสลามยะลาพอสังเขป ดังนี้ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ในนามวิทยาลัยอิสลามยะลา โดยมูลนิธิเพื่อการอุดมศึกษาอิสลามภาคใต้ เป็นผู้รับใบอนุญาตสามารถเปิดดำเนินการเรียนการสอนโดยรับนักศึกษารุ่นแรก จำนวน 200 คนเข้าศึกษาต่อใน สาขาวิชาชะรีอะฮฺ(กฏหมายอิสลาม) และสาขาวิชาอุศูลุดดีน(หลักการศาสนาอิสลาม) โดยในระยะแรกได้ดำเนินการเรียนการสอนที่ บ้านปารามีแต ต.บุดี อ.เมือง จ.ยะลา บนเนื้อที่ ประมาณ 43 ไร่ เพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวและการเติบโตของวิทยาลัย มูลนิธิเพื่อการอุดมศึกษาอิสลามภาคใต้ได้ดำเนินการขยายพื้นที่ ณ หมู่บ้านโสร่ง ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี บนเนื้อที่ 300 ไร่ เพื่อสร้างอุทยานแห่งการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของชาติ ให้มีความเจริญก้าวหน้าและมีความทันสมัยสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมด้วยภูมิหลังของประวัติศาสตร์อันยาวนานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่กล่าวกันว่า เคยเป็นศูนย์กลางการศึกษาอิสลามในภูมิภาค และเป็นแหล่งที่มีต้นทุนทางสังคม วัฒนาธรรมและภูมิปัญญา ที่เอื้อต่อการยกระดับการศึกษา พร้อมกับ ความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จึงเป็นสื่อบันดาลใจอันแรงกล้าที่กลายเป็นจุดกำเนิดของมหาวิทยาลัยอิสลามยะลาในปีการศึกษา 2550 นี้ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ได้ดำเนินการเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี 10 สาขาวิชาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต 1 หลักสูตร และหลักสูตรระดับปริญญาโท 2 หลักสูตร ปัจจุบันมีนักศึกษา 3,000 คน โดยในจำนวนนี้เป็นนักศึกษาต่างชาติ จำนวน 91 คน ซึ่งมาจากประเทศจีน กัมพูชา สวีเดน สาธารณรัฐอิสลามอีร่านอยู่ด้วย สามารถผลิตบัณฑิตแล้ว 4 รุ่น จำนวน 866 คน มีคณาจารย์ 125 คน ซึ่งเป็นอาจารย์ต่างประเทศ จำนวน 13 คน มหาวิทยาลัยอิสลามยะลาก้าวเข้าสู่ปีที่ 10 และจะก้าวต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งสู่มหาวิทยาลัยชั้นนำที่ได้รับการยอมรับระดับสากล โดยมีความมุ่งมั่นปฏิบัติตามภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก สมดังปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่กล่าวไว้ว่า "อุทยานแห่งการเรียนรู้ สู่สังคมคุณธรรม" ทั้งนี้เพราะมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มีความเชื่อมั่นว่าปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นจะต้องได้รับการแก้ไขด้วยหลักเมตตาธรรม และการใช้สติปัญญาในนามมูลนิธิเพื่อการอุดมศึกษาอิสลามภาคใต้ ใคร่ขอขอบคุณ กระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาในภูมิภาคนี้ โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา อนุญาตให้วิทยาลัยอิสลามยะลาเปลี่ยนประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเป็น มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

บัดนี้ได้เวลาอันสมควรแล้ว กระผมใคร่เรียนเชิญ ฯพณฯ รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีประธานในพิธี ได้กรุณามอบใบอนุญาตการเปลี่ยนประเภทเป็นมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา แก่ อธิการบดีมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา พร้อมกดปุ่มเปิดป้ายมหาวิทยาลัยอิสลามยะลาและกล่าวโอวาทต่อไป

ขอบคุณครับ

-แปลอย่างไม่เป็นทางการ-
ปาฐกถา
ฯพณฯศ.ดร.อับดุลลอฮฺ อับดุลมุหฺซิน อัตตุรกี เลขาธิการสันนิบาตโลกมุสลิม

เนื่องในโอกาสรับปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
วันที่ 27 มิถุนายน 2550
ณ หอประชุมวันมูหะมัดนอร์ มะทา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺผู้ทรงกรุณาปรานีเสมอฯพณฯ รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีท่านนายกสภามหาวิทยาลัยอิสลามยะลา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทาดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติประธานมูลนิธิเพื่อการอุดมศึกษาอิสลามภาคใต้ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
ผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนาคณะผู้บริหาร คณบดี คณาจารย์ ตลอดจนแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่านทั้งหลาย
นับเป็นความปลาบปลื้มปิติเป็นอย่างยิ่งที่สายสัมพันธ์แห่งความเป็นภราดรภาพในอิสลาม ได้ทำให้เราพบกัน ณ ที่ประชุมอันทรงเกียรตินี้ ในบรรยากาศที่วิทยาลัยอิสลามยะลาได้รับอนุญาตเปลี่ยนประเภทเป็นมหาวิทยาลัยอิสลามยะลานับเป็นสิ่งที่ปราศจากข้อกังขาใด ๆ เลยว่า การก่อกำเนิดของมหาวิทยาลัยในประเทศใดประเทศหนึ่ง ถือเป็นผลผลิตสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาและความเจริญ เพราะการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีเป้าหมายสำคัญสำหรับการเสริมสร้างทรัพยากรบุคคลและผู้เชี่ยวชาญในสาขาอาชีพต่าง ๆ สามารถนำความรู้ไปรับใช้สังคม และมีจิตสำนึกในการสร้างสรรค์คุณประโยชน์ต่อส่วนรวม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและครอบคลุม ทั้งนี้เพราะโลกในสภาวะปัจจุบัน คือโลกแห่งการบริหารจัดการองค์ความรู้และข้อมูลข่าวสาร เป็นโลกแห่งการสะสมความเชี่ยวชาญที่มีความละเอียดซับซ้อน และเป็นโลกแห่งการแสวงหาประสบการณ์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา หนึ่งในสถาบันอุดมศึกษา ที่มีความมุ่งมั่นพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในภูมิภาคพร้อมตั้งปณิธานอันแน่วแน่ในการมีส่วนร่วมพัฒนาสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สามารถบูรณาการการจัดการเรียนการสอน ระหว่างความรู้เกี่ยวกับอิสลามศึกษากับวิทยาการสมัยใหม่ได้อย่างกลมกลืน เพื่อสร้างสังคมที่มีดุลยภาพ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ยังมีส่วนร่วมสร้างความเข้มแข็งของคนในสังคม
และสร้างรากฐานแห่งการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขท่ามกลางสังคมพหุวัฒนธรรม ถึงแม้สถาบันอุดมศึกษาแห่งนี้จะอยู่ในระยะเริ่มแรกของการก่อตั้ง โครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาด้านต่าง ๆ ยังไม่เสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์ แต่ด้วยพลังสนับสนุนจากทุกฝ่ายที่ได้ผลิดอกออกผลในขณะนี้ได้อย่างอัศจรรย์และได้รุดหน้าจนเป็นที่ประจักษ์ ถือเป็นความภาคภูมิใจของคนในระดับภูมิภาคการอนุเคราะห์งบประมาณอันมากมายจากองค์กรต่าง ๆ ในโลกอิสลามเพื่อร่วมก่อสร้างมหาวิทยาลัยแห่งนี้ โดยเฉพาะประเทศซาอุดีอาระเบีย ที่ได้มีส่วนร่วมสถาปนาสถาบันแห่งนี้ ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น จนกระทั่งได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามที่เราได้ประจักษ์ในวันนี้ ถือเป็นกุศลเจตนาที่ควรแก่การยกย่องสรรเสริญ ข้าพเจ้าขอวิงวอนแด่เอกองค์อัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮูวะตะอาลา) ได้ทรงโปรดเพิ่มน้ำหนักตาชั่งแห่งความดี แก่ผู้ที่มีใจสาธารณะให้การสนับสนุนในการก่อสร้างสถาบันแห่งนี้ และขอให้อัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮูวะตะอาลา)ได้โปรดทำให้ความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้ เป็นสะพานเชื่อมสู่การกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างพี่น้องมุสลิมทั่วทุกมุมโลก ขอดูอาให้อัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮูวะตะอาลา) ได้โปรดประทานผลบุญอันยิ่งใหญ่ แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการอันสุดประเสริฐนี้ในสังคมมุสลิม

ท้ายนี้ข้าพเจ้าใคร่ขอแสดงความขอบคุณเป็นอย่างสูงต่อกรรมการสภามหาวิทยาลัยอิสลามยะลา และคณะผู้บริหารโดยเฉพาะ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา นายกสภามหาวิทยาลัย และ ดร. อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดี ที่ได้มีมติมอบปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แก่ข้าพเจ้าในวันนี้ ขอวิงวอนแด่อัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮูวะตะอาลา) ได้โปรดทำให้สายสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่ทำงานในองค์กรอิสลามต่างๆ กระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น อันจะนำไปสู่การประสานความร่วมมืออันยิ่งใหญ่ระหว่างเราสู่ความดีงามและสันติสุขแก่มวลประชาชาติสืบไป

วัสสลาม

แปลโดย : มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

 


- คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ -
ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺผู้ทรงกรุณาปรานี
ปาฐกถา
ฯพณฯศ.ดร.อับดุลลอฮฺ อับดุลมุหฺซิน อัตตุรกี
เลขาธิการสันนิบาตโลกมุสลิม

แก่ผู้นำศาสนา ณ โรงแรม ซี.เอส. ปัตตานี
วันที่ 28 มิถุนายน 2550
เวลา 09.30น.
-------------------------------------------------------

พี่น้องนักเผยแผ่อิสลาม นักวิชาการ ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชนทุกฝ่ายที่เคารพทุกท่านขอความสันติสุขจงมีแด่ท่านทั้งหลาย

ก่อนอื่นข้าพเจ้าใคร่ขอขอบคุณอัลลอฮฺ ที่ทรงบันดาลการพบปะอันทรงเกียรติที่สำคัญยิ่งในวันนี้ ซึ่งคณะจากสันนิบาตโลกมุสลิมได้มีโอกาสอันสุดประเสริฐในการทำความรู้จักกับบรรดาผู้นำศาสนาในภูมิภาคนี้ ทำให้เรามีโอกาสสานสายใยแห่งความเป็นภราดรภาพในอิสลาม สร้างบรรยากาศแห่งการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่างๆที่เป็นความห่วงใยและความวิตกกังวลร่วมกันในฐานะเป็นประชาชาติอันเดียวกัน มีสาสน์และภารกิจอันยั่งยืนและนิรันดร์ แม้นว่าเราจะอยู่คนละประเทศที่ห่างไกลก็ตามเป็นที่ทราบกันดีว่า สังคมมุสลิมปัจจุบันกำลังประสบภาวะระส่ำระสายและไม่มั่นคง สารพันปัญหาได้โถมใส่อย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการร่วมใช้ชีวิตในสังคมและการสร้างบรรทัดฐานในการรักษาดุลยภาพระหว่างการคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของมุสลิมกับการใช้ชีวิตกับสังคมต่างวัฒนธรรมภายใต้บรรยากาศแห่งความเข้าใจซึ่งกันและกัน ความเอื้ออาทรและความมั่นคงในชีวิต ภายใต้บรรยากาศอันยุ่งยากและสลับซับซ้อนเช่นนี้ ผู้นำมุสลิมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทุ่มเทกำลังความสามารถในการศึกษาแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ในสังคมพหุวัฒนธรรม การใช้ชีวิตร่วมกันอย่างเคารพในกฏหมายและข้อบังคับ การไกล่เกลี่ยประเด็นข้อขัดแย้ง ผู้นำมุสลิมจำเป็นต้องศึกษาและประยุกต์ใช้บทบัญญัติอิสลามว่าด้วยการใช้ชีวิตในภาวะไม่ปกติอย่างรู้เท่าทันเพื่อแก้ปัญหาหรือผ่อนคลายปัญหามิให้บานปลาย ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นในสถานการณ์อันยุ่งยากเช่นนี้ คืออาการเร่งรีบและความไม่ชัดเจนของข้อมูล ดังนั้นการตัดสินใจใดๆจะไม่เป็นผลสำเร็จจนกว่าจะมีการคำนึงถึงการแก้ไขปัญหาอย่างละมุนละม่อม อ่อนโยนและเต็มไปด้วยสัมมาทิฐิและสติปัญญา การประเมินสถานการณ์อันแม่นยำ และการมองการณ์ไกลถึงเป้าหมายสุดท้าย นักวิชาการมุสลิมได้ตั้งกฏกติกาไว้ว่า "การพินิจพิเคราะห์ต่อเป้าหมายสุดท้าย เป็นสิ่งที่ควรคำนึงและมีผลบังคับใช้ตามหลักศาสนบัญญัติ"สิ่งต่างๆเหล่านี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยประสบการณ์อันหลากหลายจากพื้นที่ต่างๆ การศึกษาประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวาง และการสรุปบทเรียนจากสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องแม่นยำ นอกจากนี้ องค์กรมุสลิมในทุกระดับมีความจำเป็นต้องเข้าหากันโดยการเปิดเนื้อที่ระหว่างกันซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง ให้ความช่วยเหลือ ผนึกกำลัง ประสานความคิด หลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนในภาระหน้าที่ และการบริหารความขัดแย้งด้วยกฏกติกาที่กำหนดโดยหลักจริยธรรมในศาสนบัญญัติ ห่างไกลจากความขัดแย้งและความเข้าใจผิด รวมถึงสาระอื่นๆในบริบทของความสมานฉันท์และสานเสวนาที่ก่อประโยชน์สูงสุด

โอกาสนี้ข้าพเจ้าใคร่ขอตักเตือนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับการเผยแผ่อิสลามและการศึกษา ผู้บริหารองค์กรหรือสถาบันผู้แทนมุสลิมในหน่วยงานต่างๆ ขอให้ทุกท่านดำเนินภารกิจด้วยหัวใจที่บริสุทธิ์ ไม่หวังผลตอบแทนใดๆเว้นแต่ความโปรดปรานของอัลลอฮฺ ผู้นำมุสลิมทุกระดับควรลำดับความสำคัญของปัญหาเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน มีการใช้เครื่องมือและยุทธ์วิธี ที่สร้างสรรค์และก่อประโยชน์สูงสุด รู้จักบริหารเวลาอย่างคุ้มค่า ยึดมั่นในหลักสานสายใยแห่งความผูกพันที่ดีในการทำงานและการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ว่าในกลุ่มมุสลิมด้วยกันหรือชนต่างศาสนิก นอกจากนี้ผู้นำมุสลิมทุกระดับควรรีบหาโอกาสที่เอื้ออำนวยทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาคและระดับโลกในการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่ดีพร้อมให้ความร่วมมือกับทุกๆฝ่ายสู่การพัฒนาสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ผู้นำมุสลิมในทุกระดับ ควรต้องหลีกเลี่ยงและห่างไกลจากวังวนแห่งความขัดแย้ง การมีทิฐิและแบ่งแยกเป็นพรรคเป็นพวกระหว่างกัน เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะขัดแย้งกับความเป็นพี่น้องในอิสลาม ความเป็นภราดรภาพจะมลายหายสิ้น วัตถุประสงค์หลักของการจัดตั้งองค์กรเพื่อเป็นเวทีแห่งการสานความร่วมมือระหว่างกันก็จะไร้คุณค่าและหมดความหมายโดยปริยาย ผู้นำมุสลิมในทุกระดับจำเป็นต้องประสานความร่วมมือด้วยวิธีการที่ดีที่สุดเพื่อแก้ปัญหาของประชาชาติประการดังกล่าวข้างต้น นับเป็นปมเงื่อนสำคัญของความสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจ แต่ที่สำคัญมากว่านั้นคือการสร้างบรรยากาศแห่งการตักเตือนในระหว่างผู้นำมุสลิมด้วยกัน ขอให้บรรยากาศเช่นนี้เป็นภาพสะท้อนของความเป็นภราดรภาพอันแท้จริงในอิสลาม ที่เกิดขึ้นตามโอกาสต่างๆที่มีการพบกันหรือการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน สิ่งสำคัญคือทุกฝ่ายต้องมีหัวใจที่เปิดกว้างที่จะยอมรับการตักเตือน การมอบความไว้วางใจ และการยอมรับความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นสันนิบาตโลกมุสลิมมีความเชื่อมั่นว่า ปัญหาภายในของสังคมมุสลิมจำเป็นที่จะต้องได้รับการแก้ไขและมีความสำคัญมากกว่าปัญหาภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการให้การศึกษาและการอบรมเลี้ยงดูอนุชนรุ่นใหม่ด้วยคำสอนที่ถูกต้อง การสร้างกำแพงปกป้องเยาวชนมิให้ตกอยู่ในหลุมพรางแห่งความวุ่นวายที่ไม่จบสิ้น และการยื่นมือให้ความช่วยเหลือพวกเขาให้หลุดพ้นจากสารพันปัญหา ปัญหาภายในที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือปัญหาสตรีมุสลิม ที่จะต้องหามาตรการพัฒนาให้มีความสมบูรณ์ทั้งความรู้และจรรยามารยาท พร้อมทั้งหาวิธีปกป้องนางจากการถูกเป็นเหยื่อของกลุ่มผู้ไม่หวังดีที่พยายามทำลายกำแพงแกร่งที่อิสลามได้วางกรอบไว้ไม่ว่าในระดับครอบครัวหรือสังคม ทั้งนี้เพราะสตรีมุสลิมไม่ว่าจะอยู่ในฐานะลูกสาว ภรรยาหรือมารดาจะเป็นกำแพงที่มีความเปราะบางที่สุดสำหรับการทำลายประภาคารแห่งอิสลาม ดังนั้นการให้การศึกษาและการอบรมเลี้ยงดูจึงมีความจำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องตระหนักและให้ความสำคัญในอันดับต้นๆของการแก้ปัญหาที่ละเอียดอ่อนนี้

ท้ายนี้ ข้าพเจ้าใคร่ขอขอบคุณทุกท่านที่สนใจรับฟังการปาฐกถาในครั้งนี้ ขอดุอาให้เอกองค์อัลลอฮฺได้โปรดให้ความช่วยเหลือและประทานการชี้นำแก่ทุกท่าน
วัสสลาม
แปลโดย : มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา


คำประกาศเกียรติคุณ
Professor Dr.Abdullah bin Abdulmuhsin AT-Turkei
ศิลปศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

27 มิถุนายน พ.ศ. 2550
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ด้วยสภามหาวิทยาลัยอิสลามยะลาในการประชุมครั้งที่ 24(2/2550)เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2550ได้พิจารณาเห็นว่า Professor Dr.Abdullah bin Abdulmuhsin AT-Turkei เป็นผู้ทรงคุณวุฒิและมีคุณธรรมเป็นที่ยกย่องนับถืออย่างสูงในด้านการศึกษาและกิจการอิสลาม มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ชัดระดับสากล ได้อุทิศตนเพื่อเผยแพร่ความรู้และดำเนินกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์อันดีงามในเวทีนานาชาติ สมควรได้รับการยกย่องเป็นแบบอย่างให้ผู้อื่นเจริญรอยตามสืบไป


Professor Dr.Abdullah bin Abdulmuhsin AT-Turkei เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1939 ณ กรุงริยาด ประเทศซาอุดิอาระเบีย ปัจจุบันอายุ 68 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทจาก Imam Muhammad Ibn Saud Islamic University ประเทศซาอุดิอาระเบีย เมื่อปี ค.ศ.1963 และ ปีค.ศ.1970 ตามลำดับด้วยคะแนนเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจาก Al-Azhar University ประเทศอียิปต์ ปี ค.ศ.1974 ด้วยคะแนนเกียรตินิยมอันดับหนึ่งเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังได้รับดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ อีกหลายแห่งในประเทศซาอุดิอาระเบีย และประเทศอื่นๆ ได้เขียนและแต่งตำราทางวิชาการไว้กว่า 20 เล่มที่สำคัญคือ 1)อิสลามกับสิทธิมนุษยชน 2)ประชาชาติสายกลางและยุทธ์ศาสตร์ของศาสนทูตในการเผยแพร่อิสลาม 3)ปัจจัยและสาเหตุแห่งความขัดแย้งระหว่างนักปราชญ์มุสลิม เป็นต้น
ในด้านวิชาการ Professor Dr . Abdullah bin Abdulmuhsin AT-Turkei ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภานักวิชาการมุสลิมประเทศซาอุดิอาระเบีย เป็นกรรมการสภาสูงสุดด้านการสื่อสารมวลชน เป็นกรรมการมูลนิธิกษัตริย์ไฟศ็อลเพื่อการกุศล เป็นกรรมการสภาสูงสุดเพื่อการศึกษาแห่งชาติประเทศซาอุดิอาระเบีย เป็นกรรมาธิการจัดทำยุทธศาสตร์การศึกษาแห่งชาติประเทศซาอุดิอาระเบีย เป็นประธานสถาบันอัลกุรอานศึกษา กรุงริยาด เป็นนายกสภาและกรรมการสภามหาวิทยาลัยต่างๆในประเทศซาอุดิอาระเบีย ประเทศปากีสถาน ประเทศอียิปต์ ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศในยุโรป


ในด้านการบริหาร Professor Dr .Abdullah bin Abdulmuhsin AT-Turkei ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานสมาคมยุวมุสลิมโลก เป็นอธิการบดี Imam Muhammad Ibn Saud Islamic University ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศาสนสมบัติและกิจการอิสลามประเทศซาอุดิอาระเบีย ยิ่งกว่านั้นยังได้ใช้การสื่อสารเพื่อการเผยแพร่อิสลามและให้คำวินิจฉัยประเด็นศาสนาด้วยวิธีการอันสุขุมคัมภีรภาพ เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสารัตถะอิสลามโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นสายกลางและสันติวิธี ไม่ว่าจะเป็นการใช้สื่อบุคคลโดยการไปร่วมแสดงปาฐกถาตามสถาบันและหน่วยงานต่างๆทั่วโลก เพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอิสลามอย่างถูกต้อง เป็นการรับรู้ถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง โดยการพบปะกับบุคคลต่างกลุ่มอาชีพและประชาชนในระดับต่างๆทั่วทุกมุมโลก


ในด้านการศึกษา Professor Dr. Abdullah bin Abdulmuhsin AT-Turkei ได้อุทิศแรงใจ แรงกายตลอดจนความรู้ความสามารถตลอดระยะเวลา 40 ปี ในการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือทางวิชาการ เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพการศึกษาในประเทศซาอุดิอาระเบีย และต่างประเทศให้มีความทัดเทียมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับสากล เป็นประธานสมาพันธ์มหาวิทยาลัยอิสลามโลก เป็นประธานสภามุสลิมโลก ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นกรรมการสภาสูงสุดเพื่อกิจการอิสลามกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ นอกจากนี้ยังได้เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสถาบันการศึกษาอิสลามและภาษาอาหรับทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญีปุ่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศในยุโรป


ปัจจุบัน Professor Dr. Abdullah bin Abdulmuhsin AT-Turkei ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการสันนิบาตโลกมุสลิม ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนระดับสากลที่มีหน้าที่กำหนดนโยบายต่างๆของกิจการอิสลามโดยให้ความสำคัญด้านสิทธิมนุษยชน การเผยแพร่ศาสนา มุ่งประสานและเชื่อมสัมพันธ์พลังแห่งความดีที่อุทิศเพื่อสาธารณกุศล อันนำมาซึ่งความมีเกียรติและศักดิ์ศรีของอิสลาม ขจัดแนวคิดที่เป็นปฏิปักษ์และอคติต่ออิสลาม ตลอดจนลบล้างความเชื่อที่ผิดๆและการบิดเบือนศาสนาในทุกรูปแบบ ซึ่งProfessor Dr.Abdullah bin Abdulmuhsin AT-Turkeiได้นำประสบการณ์และความรู้บริหารงานในสันนิบาตโลกมุสลิมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการพัฒนาสังคมระดับประเทศและนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าสู่ประชาคมโลกต่อไป


โดยการที่ Professor Dr.Abdullah bin Abdulmuhsin AT-Turkei เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีความวิริยะ อุตสาหะ มีความรอบรู้ มีวิจารณญาณ มองการณ์ไกล เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมอันสูงส่ง ได้อุทิศแรงกาย แรงใจ ตลอดจนความรู้ความสามารถอย่างต่อเนื่องตลอดมา จนผลงานเป็นที่ประจักษ์ อันก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคมระดับชาติและระดับโลกอย่างอเนกอนันต์ สมควรได้รับการพิจารณายกย่องในวงวิชาการ เพื่อเป็นแบบอย่างให้ผู้อื่นเจริญรอยตาม สภามหาวิทยาลัยอิสลามยะลาจึงมีมติเป็นเอกฉันท์มอบปริญญาศิลปศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เพื่อเป็นเกียรติสืบไป


ประวัติบุคคล

1. ประวัติส่วนตัว
1.1 ชื่อ-สกุล : ฯพณฯ ศาสตราจารย์ ดร. อับดุลลอฮฺ บิน อับดุลมุหซิน อัลตุรกี
1.2 วัน เดือน ปี เกิด : เกิดปี ค.ศ. 1939 ณ กรุงรียาด ประเทศ ซาอุดีอาระเบีย

2. วุฒิการศึกษา
" ปริญญาเอก "เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง" ด้านกฎหมายอิสลาม มหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร ประเทศอียิปต์ ปี ค.ศ. 1973

3. ประวัติการรับตำแหน่ง
" คณบดีคณะภาษาอาหรับมหาวิทยาลัย อัล-อีมาม มูฮำมัด บิน ซุอูด กรุงรียาด ประเทศซาอุดี อาระเบีย (ค.ศ. 1968-1974)
" รองอธิการบดี มหาวิทยาลัย อัล-อีมาม มูฮำมัด บิน ซุอูด (ค.ศ. 1974-1976)
" อธิการบดี มหาวิทยาลัย อัล-อีมาม มูฮำมัด บินซูอูด ปี (ค.ศ.1976-1984)
" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศาสนสมบัติและกิจการอิสลามประเทศซาอุดิอาระเบีย ปี ฮ.ศ.1414 (ค.ศ.1984-1990)
" องคมนตรี (ค.ศ. 1990)
" เลขาธิการสันนิบาติมุสลิมโลกในปี (ค.ศ. 1991-ปัจจุบัน)

4. ผลงานด้านวิชาการ
เขียนหนังสือต่อไปนี้ (ภาษาอาหรับ)
1. "ความแตกต่างการวินิจฉัยของอุลามะอฺ"
2. "หลักการอิสลามกับการสร้างครอบครัวสันติสุข"
3. "การดำเนินตามวิถีปฏิบัติตามชีวประวัติ"
4. "อิสลามกับสิทธิมนุษยชน"
5. "พันธกิจของประเทศมุสลิม ต่อการเชิญชวนสู่หนทางของอัลลอฮฺ"
นอกจากนี้ยังได้เขียน บทความทางวิชาการ และทำวิจัยในหัวข้อต่างๆโดยมีการตีพิมพ์เนื่องในโอกาสต่างๆ


5. ประสบการณ์การทำงาน
5.1 ในประเทศ
1. กรรมการสภานักวิชาการอาวุโสประเทศซาอุดีอาระเบีย
2. กรรมการสภาสูงสุดเพื่อสื่อมวลชนของประเทศซาอุดีอาระเบีย
3. กรรมการมูลนิธิกษัตริย์ไฟซอลเพื่อการกุศลแห่งกรุงรียาด
4. อดีตสมาชิกคณะกรรมการสูงสุดเพื่อการศึกษาของประเทศซาอุดีอาระเบีย
5. กรรมการสภาหอสมุดกษัตริย์อับดุลอาซิซ กรุงริยาด
6. อดีตประธานสภาศูนย์วิชาการอัล-กุรอาน กรุงริยาด
7. อดีตกรรมการสภามหาวิทยาลัยในประเทศซาอุดีอาระเบีย
8. อดีตกรรมการสภามหาวิทยาลัยอิสลามแห่งนคร มาดีนะฮฺ ประเทศซาอุดีอาระเบีย
9. อดีตกรรมการสภามหาวิทยาลัยกษัตริย์ซะอูด กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบียพร้อมกันนี้ท่านยังได้เข้าร่วมทำกิจกรรมกับองค์การต่างๆที่ทำงานเพื่ออิสลามและวิชาการ

5.2 ระหว่างประเทศ
1. เลขาธิการสหพันธ์สันนิบาติโลกมุสลิม
2. ประธานสภามุสลิมโลก กรุงลอนดอน
3. ประธานสมาพันธ์มหาวิทยาลัยอิสลามโลก
4. ประธานสภาวิทยาลัย อัลมาลิก ไฟซอล กรุง ตาชาด
5. ประธานคณะกรรมการร่างหลักสูตรและสำนักวิชาการมหาวิทยาลัยอิสลามโลกแห่งกรุงอิสลามาบัด ประเทศปากีสถาน
6. อดีตประธานสภามหาวิทยาลัยอิสลามไนจีเรีย และสมาชิกสภามหาวิทยาลัยอิสลามไนจีเรียปัจจุบัน
7. ประธานสภานานาชาติเพื่อการทดสอบสถานศึกษาภาษาอาหรับและอิสลาม
8. อดีตรองประธานสภามหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติ กรุงอิสลามาบัด ประเทศปากีสถาน
9. สมาชิกสภาสูงสุดเพื่อกิจการอิสลาม กรุงไคโร ประเทศอียิปต์
10. รองประธานสภาอิสลามนานาชาติเพื่อการเผยแพร่และการสงเคราะห์
11. กรรมการสภา อ็อกซ์ฟอร์ด เพื่อการศึกษาวิชาการอิสลาม
12. กรรมการก่อตั้งองค์กรการกุศลอิสลามนานาชาติ ประเทศคูเวต
13. อดีตกรรมการสภาวิทยาลัยอิสลามอเมริกาแห่งนครชิคาโก
14. กรรมการสภาสถาบันประวัติการศึกษาภาษาอาหรับและอิสลามแห่งเเฟรงเฟิร์ตและอดีตประธานกรรมการสภาดังกล่าว
15. กรรมการก่อตั้งศูนย์ค้นคว้าวิจัยวิชาการอิสลาม ณ กรุงบอน
16. กรรมการศูนย์การศึกษาตะวันออกกลางแห่งมหาวิทยาลัยอิสลามประเทศ อินโดนีเซีย
17. กรรมการสภาองค์การเผยแพร่อิสลาม
18. กรรมการสภาสถาบันการศึกษาอิสลามและอาหรับแห่งอเมริกา

6. บทบาทในด้านสื่อ
" มีบทบาทในสื่อวิทยุประเทศซาอุดีอาระเบียซึ่งเป็นรายการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อต่างๆ ทั้งใน 
แง่คิด สังคม วัฒนธรรม และการชี้นำ
" มีบทบาทในสื่อโทรทัศน์ ซึ่งเป็นรายการตอบปัญหาทางวิชาการและสังคม
" มีส่วนร่วมผ่านในสื่อหนังสือพิมพ์ต่างๆ โดยเป็นผู้เขียนคอลัมน์รายวัน รายสัปดาห์และรายเดือน รวมถึงบทความ และให้บทสัมภาษณ์

7. การติดต่อและสร้างความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ
" ให้ความสำคัญกับการสื่อสารติดต่อและสร้างความสัมพันธ์ในระดับนานาชาติ โดยสร้างความสัมพันธ์กับหลายประเทศทั่วโลก
" มีการพบปะแลกเปลี่ยนทัศนคติกับนักศึกษาอาหรับที่กำลังศึกษาในประเทศต่างๆโดยเฉพาะ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
และประเทศยุโรป
" เข้าร่วมในงานสัมมนาซึ่งจัดโดย องค์กรอิสลามต่างๆ ในแถบยุโรป อเมริกา เอเชีย แอฟริกา และ ออสเตรเลีย
" สร้างความสัมพันธ์กับบรรดาผู้รู้ นักคิด นักการศาสนาของประเทศมุสลิมต่างๆ
" สร้างความสัมพันธ์กับเยาวชนมุสลิมที่พร้อมจะให้ความร่วมมือในการสร้างชีวิตที่ดีให้กับประชาชาติมุสลิม ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์กับองค์กรระดับนานาชาติที่เข้าใจและให้ความสำคัญกับอารยธรรมอิสลามความพยายามในด้านการปลูกฝังจริยธรรมและวิชาการท่านได้ใช้เวลาสี่สิบกว่าปีในการทุ่มเททางด้านการปลูกฝังจริยธรรมและวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ท่านยังได้มีส่วนรวมในการสร้างและพัฒนาสมาพันธ์มหาวิทยาลัยอิสลาม ท่านได้มีส่วนร่วมกับมูลนิธิเพื่อการศึกษาในการสร้างมหาวิทยาลัย โรงเรียนศาสนาและภาษาอาหรับทั่วโลก และท่านได้ทุ่มเทให้กับการศึกษาและการวิจัยด้านภาษาอาหรับและอิสลามในทวีปยุโรปและอเมริกา ท่านยังได้วางแผนการเรียนการสอนด้านอิสลามศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ นอกจากนี้ท่านยังเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ทั้งในระดับปริญญาโท ปริญญาเอก และตำราวิชาการ การให้บริการวิชาการอิสลามและภาษาอาหรับ ในด้านบริการวิชาการอิสลามและภาษาอาหรับนั้น ท่านได้มีส่วนร่วมในการนำเสนองานวิจัยผ่านการสัมมนา การประชุมสมาพันธ์มหาวิทยาลัยอิสลาม และการประชุมกรรมการวิชาการ ท่านยังมีส่วนร่วมในการจัดระบบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยอิสลามแห่งประเทศไนจีเรีย มหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติ อิสลามาบัด ประเทศปากีสถาน และมหาวิทยาลัยต่างๆที่เปิดการเรียนการสอนด้านอิสลามศึกษา

๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙



คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com