www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 13 คน
 สถิติเมื่อวาน 24 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2288 คน
11318 คน
1703762 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

          
คอลัมน์  วัด  มัสยิด  ศาลเจ้า  เป็นเรื่องราวทางศาสนาที่สำคัญ  ซึ่งผมเห็นว่า  การนำเสนอเรื่องราวของศาสนสถานที่อยู่ห่างไกล  และไม่มีโอกาส  ได้ประชาสัมพันธ์ก็จะทำให้  ผู้ที่มีความสนใจได้ทราบประวัติและความเป็นมา  และนำไปสู่การศึกษาหาความรู้  ต่อไป ด้วยความปรารถนาดีจาก
 
ณรงค์  ชื่นนิรันดร์
เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2552 ผมได้มีโอกาสเดินทางไปชมพุทธสถานภูปอ ซึ่งเป็นที่ตั้งวัดอินทรประทานพร หมู่ 3 บ้านโนนสวรรค์ ต.ภูปอ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์  เป็นเรื่องราวทางพุทธศาสนาที่น่าสนใจยิ่ง  โดยผมได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก คุณอนันต์  จำเริญเจือ ซึ่งทำงานรับใช้พระพุทธศาสนาที่วัดแห่งนี้  ได้จัดส่งข้อมูลไปให้ผม ทางอีเมล์ พร้อมรูปภาพบางส่วน และต้องขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย และผมต้องขอขอบพระคุณหลวงพี่เบิร์ด  ที่ให้ข้อมูลในการประสานงานเป็นอย่างดี  ผมหวังว่าข้อมูลที่เผยแพร่ต่อไปนี้จะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน  ท่านที่สนใจสามารถติดต่อขอข้อมมูลเพิ่มเติมได้ที่คุณอนันต์ โทร 087-1011569
ผมได้เดินทางไป วัดภูค่าว หรือวัดพุทธนิมิต ซึ่งตั้งอยู่ใน ตำบลสหัสขันธ์ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยวัดนี้ ตั้งอยู่ห่างจาก อำเภอสมเด็จประมาณ 30 กม. และตั้งอยู่ห่างจาก อำเภอสหัสขันธ์ ประมาณ 10 กม. วัดภูค่าว จะตั้งอยู่ระหว่างทางไปอำเภอสหัสขันธ์ กับอำเภอสมเด็จ เราสามารถมองเห็น พระธาตุเจดีย์ขนาดใหญ่ ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างพุทธไสยาสน์ องค์นี้ ดูแปลกจากองค์อื่น ๆ ที่ผมเห็นมา และยังแตกต่างจากพุทธไสยาสน์ที่ประดิษฐานที่ภูปอ ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลกันมากนัก ตามประวัติระบุว่า พุทธไสยาสน์ องค์นี้ เป็นสาวกของพระพุท
ธเจ้า คือ พระโมคัลลานะ สังเกตได้จาก เศียร จะหันไปทางซ้ายมือของเรา หรือนอนตะแคงซ้าย ที่เศียรก็ไม่มีพระเกตุมาลา และองค์เล็กกว่าพุทธไสยาสน์ที่ดินภูปอ 
วัดพุทธาวาส ซึ่งวัดแห่งนี้ตั้งอยู่บนภูเขา ที่ชาวบ้านเรียกว่าภูสิงห์ และภูเขาลูกนี้ตั้งอยู่ในตัว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์   สิ่งที่มหัศจรรย์ก็คือ บนภูเขาจะมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ประดิษฐานอยู่   ถ้ามองจากพื้นล่าง จะมองเห็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ตั้งแต่ไกล ได้อย่างชัดเจน ผมเดินสำรวจอยู่พักหนึ่งก็ได้มีโอกาสสนทนาธรรมกับ เจ้าอาวาส โดยพระอาจารย์ได้บอกว่า การนำเสนอข่าวต้องนำเสนอ แบบพูดตามข้อเท็จจริง  แต่การพูดข้อเท็จจริงนั้นต้องเป็นประโยชน์ต่อประชาชน  ถ้าไม่เป็นประโยชน์ก็ไม่ต้องนำเสนอ ซึ่งสิ่งที่ออกมาจะกลับไปสู่สันติ  และต้องเป็นข่าวเพื่อชี้นำสันติอย่าไปเขียนเพื่อนำสูความขัดแย้ง การคิดต้องคิดให้ไกล แต่ทำให้ใกล้
สิงห์แห่งนี้ เป็นที่ประดิษฐานขององค์พระขนาดใหญ่ นามว่า พระพรหมภูมิปาโล ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของ ตัวอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ทั้งนี้เนื่องจากปลายปี พ.ศ. 2509 จังหวัดกาฬสินธุ์ อยู่ในพื้นที่ Sensitive Area ที่มีการแทรกซึมบ่อนทำลายของฝ่ายตรงข้ามคือ ลัทธิคอมมิวนิสต์ นายบุรี พรหมลักขโณ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นประธานคณะกรรมการส่งเสริมพระพุทธศาสนาวัฒนธรรมและประเพณีจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้มีมติให้มีการก่อสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่บนไหล่เขาภูสิงห์ด้านทิศใต้เพื่อให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ยึดเหนี่ยวจิตใจแก่ชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ และเป็นมิ่งมงคลแก่บ้านเมือง 
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ ท่านถือกำเนิดในสกุล แก่นแก้ว โดยมีนายคำด้วง เป็นบิดา และนางจันทร์เป็นมารดา ในวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ 20 เดือน มกราคม พ.ศ. 2413 ณ บ้านคำบง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เมื่ออายุได้ 15 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรครั้งแรก ณ วัดบ้านคำบง ต่อมาภายหลังอีก 2 ปี ได้ลาสิกขาบทตามคำร้องขอของบิดา เพื่อให้ไปช่วยงานการที่บ้าน เมื่ออายุได้ 22 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดเลียบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2436 โดยมีพระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจา พระครูประจักษ์ อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ 
เมืองสงขลา เป็นเมืองที่มีประวัติมาอย่างยาวนาน และเป็นเมืองที่น่าสนใจยิ่ง โดยเฉพาะโบราณสถานในพระพุทธศาสนา ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ตามแถบเทือกเขาน้อย , เขาหัวแดง มีป้อมค่าย และสถูปเจดีย์ ตั้งอยู่เรียงราย ซึ่งในอดีต บริเวณนี้เป็นที่ตั้งเมืองเก่าสงขลา เพราะเมื่อเจ้าเมืองมีการขึ้นดำรงตำแหน่ง ก็จะมีการสร้างวัดประจำเจ้าเมือง เพื่อเป็นการเสริมบารมี และพื้นที่ที่ผมกล่าวมา ปัจจุบันนี้ตั้งอยู่ใน อ.สิงหนคร จ.สงขลา ตรงนี้แหล่ะครับ ผมได้พบกับ สามเณรโดนี่ จันทร์ดี พร้อมสามเณรน้อย ประมาณ 5 รูป สามเณรโดนี่ ทักทายผมด้วยอัธยาศัย ไมตรีเป็นอย่างดี และผมก็ได้ทักทาย   สามเณรโดนี่ ที่ได้ให้การต้อนรับผม ด้วยท่าทีที่ยิ้มแย้มแจ่มใส หายเหนื่อยครับ ที่ผมได้มีโอกาสสนทนา

“กรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกาทศรส และสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ทำให้ชาวต่างประเทศหลั่งไหลเข้ามาค้าขาย ในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา เป็นจำนวนมาก อาทิ ชาวอินเดีย ชาวเปอร์เซีย หรือชาวอิหร่าน ในปัจจุบัน  โดยชาวมุสลิม จากเปอร์เซีย ที่เข้ามายังกรุงศรีอยุธยา มี 2 สาย คือ สายที่หนึ่ง คือ เชคอะหมัด พร้อมน้องชาย เดินทางเข้ามาค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา ยุคกลาง และได้นำศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ เข้ามายังกรุงศรีอยุธยา  โดยการตั้งห้างร้าน ทำมาค้าขายจนรุ่งเรืองร่ำรวย ทำให้ เชคอะหมัด เป็นที่รู้จักในกรุงศรีอยุธยา และได้รับพระราชทาน ทินนาม ใหม่ ซึ่งเป็นต้น ตระกูลบุนนาค ที่พวกเรารู้จัก มาจนถึงทุกวันนี้ ”

วัดเขาน้อย : ตั้งอยู่ที่บ้านบนเมือง หมู่ 78 ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:smarttags" />38 ไร่ 2 งาน 2ตารางวา ห่างจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 408 ระหว่างสามแยกการท่าเรือน้ำลึกสงขลา  กับสะพานติณสูลานนท์ เกาะยอ  ทางด้านทิศใต้ ประมาณ 500 เมตร เป็นวัดเก่าแก่มาแต่โบราณยุคพุทธศาสนามหายานแห่งศรีวิชัย  ต่อมาเมืองสงขลาได้ตั้งขึ้นที่เขาค่ายม่วง  หรือที่เรียกว่า “เมืองสงขลาหัวเขาแดง”
.
นับเป็นความโชคดีของผมที่ได้มีโอกาส ไปทำงานที่ อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ระหว่างปี วันที่7 ธันวาคม 2540- 30 มิถุนายน 2546   ได้เรียนรู้และได้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองในลุ่มน้ำตะกั่วป่า พอสมควร วันหนึ่งผมได้รับบันทึกฉบับหนึ่ง ซึ่งผมมีสำเนาต้นฉบับอยู่ที่ผม และผมรับรองได้เลยว่า บันทึกนี้มีอยู่กับผมเพียงผู้เดียวที่เขียนด้วยลายมือของพระอาจารย์จรัญ (พระครูโสภณประชานุกูล)  เจ้าอาวาสวัดนารายณิการาม หรือ วัดเหล ซึ่งวัดนี้ตั้งอยู่ที่ ตำบลเหล อำเภอกะปง จังหวัดพังงา  
(ในภาพ:พระครูโสภณประชานุกูล ผู้เขียนเรื่องรอยพระพุทธบาท ในป่าลึก กะปง พังงา)
 
ทวดหัวเขาแดง เป็นเทพที่สถิตอยู่ที่หัวเขาแดงปากน้ำเมืองสงขลา และเป็นที่ยอมรับนับถือของคนทั่ว ๆ ไป มาแต่สมัยโบราณว่า ทวดคอยอภิบาลคุ้มครองปัองกันรักษาความปลอดภัย ประสิทธิ์โชคลาภนานาประการแก่เมืองสงขลา ประชาชนชาวสงขลาและผู้ที่เดินทางผ่านไป-มา ทั้งทางบกและทางทะเล
 
สมัยญี่ปุ่นขึ้น พ.ศ.2484 มีระเบิดลงมา 6 ลูก ที่หน้าศาลของปู่ทวดหัวเขาแดง แต่ระเบิดไม่ปะทุ (ไม่ระเบิด) มีเรือญี่ปุ่นจอดอยู่ด้วย แต่ไม่ได้รับอันตรายและชาวสงขลาส่วนใหญ่จะหลบภัยอยู่ตามถ้ำ ซึ่งในปัจจุบันคือถ้ำแม่นาง

                             

คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com