www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 33 คน
 สถิติเมื่อวาน 33 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2690 คน
11720 คน
1704164 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

OIC เยือนไทย 30เม.ย.-3 พ.ค.2550
ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ ผู้สื่อข่าว 8ว.
1 พฤษภาคม 2550

บทนำ
องค์การการประชุมมุสลิม (โอไอซี) เป็นองค์การที่ก่อตั้งขึ้นมา เพื่อให้การดูแลประเทศและประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม โดยจะมีการช่วยเหลือชาวมุสลิมที่ถูกเอาเปรียบหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยขณะนี้ (ปี 2550) มีประเทศมาเลเซีย เป็นประธานโอไอซี ซึ่งเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาชาวมุสลิมที่มีอยู่ทั่วโลก ดังนั้น เราจึงเห็นว่า ประเทศมาเลเซีย มีความพยายามที่จะหาทางความร่วมมือต่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ดังจะมีข่าวออกมาอยู่เสมอว่า เคยมีการเจรจากับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ โดยผ่านทาง ดร.มหาธีร์ อดีตนายกรัฐมนตรี ขณะเดียวกัน เลขาธิการโอไอซี ก็ได้มีโอกาสแวะเวียนมาหาข้อมูลกับฝ่ายไทยอยู่ตลอดเวลา เพื่อประมวลผลว่า การดำเนินการของไทยที่มีต่อชาวมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ได้กระทำไปอย่างยุติธรรมหรือไม่

เลขาOICเยือนไทยฟังปัญหาไฟใต้
ทำเนียบรัฐบาล วันที่ 1 พ.ค.2550 ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลัง Mr.Ekrneleddin Ihsanoglu เลขาธิการองค์การการประชุมอิสลาม (OIC) เข้าพบพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ว่าทั้ง 2 ฝ่ายสนใจแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้และเห็นพ้องว่าจะต้องส่งเสริมความสมานฉันท์ในพื้นที่ 'เลขาธิการโอไอซี ได้ติดตามปัญหาอย่างใกล้ชิดตั้งแต่รัฐบาลชุดที่แล้ว และที่เป็นห่วงพิเศษคือ เรื่องความรุนแรง แต่ก็เห็นว่าแนวทางของรัฐบาลชุดนี้ถูกต้อง ที่มีการส่งเสริมให้เกิดความถูกต้อง ไม่ใช้ความรุนแรง และโอไอซี พร้อมสนับสนุนให้เกิดความเป็นธรรมในพื้นที่ภาคใต้' นายกรัฐมนตรีแจ้งให้เลขาธิการโอไอซี ทราบว่า รัฐบาลเห็นความสำคัญของปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเรื่องสูงสุด เช่นเดียวกันกับโอไอซี ที่เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ รัฐบาลเน้นการทำงานให้เกิดความสันติ และพยายามไม่ใช้ความรุนแรง ขณะที่กลุ่มก่อความไม่สงบพยายามที่จะสร้างความแตกแยก และขัดขวางกระบวนการทำงานของรัฐบาล เพราะส่งผลกระทบต่อกลุ่มก่อความไม่สงบ 'นายกรัฐมนตรีบอกกับเลขาธิการโอไอซี ว่ารัฐบาลจะเข้าไปดูแลปัญหาภาคใต้อย่างใกล้ชิด เน้นการดูแล ลดความรุนแรง พัฒนาเศรษฐกิจ การศึกษา และส่งเสริมความเป็นธรรมในพื้นที่ให้มากขึ้น จะมอบให้กระทรวงศึกษาธิการดูแลการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งเลขาธิการโอไอซี บอกว่ามีหลายองค์กรของมุสลิมยินดีช่วยเหลือ และสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับเยาวชนในพื้นที่' นายกรัฐมนตรียังแจ้งให้เลขาธิการโอไอซี ทราบด้วยว่าจะเชิญผู้นำศาสนาอิสลามของประเทศมุสลิม เช่น อินโดนีเซีย หรือ อียิปต์ มาเยือนประเทศไทย เพื่อเข้ามาช่วยหาแนวทางแก้ไขปัญหา ซึ่งโอไอซี พร้อมสนับสนุนแนวทางนี้ และยังยินดีช่วยสร้างความเข้าใจกับประเทศมุสลิมอื่นๆ ด้วย

อย่างไรก็ตาม เรื่องการดำเนินการในพื้นที่ นายกรัฐมนตรีบอกว่าเป็นเรื่องที่พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) จะให้รายละเอียดได้ดีกว่า เพราะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง และยังเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (ผอ.รมน.) ด้วย
มท.1 เชื่อโอไอซีเข้าใจรัฐบาลไทย

เลขาธิการโอไอซีเยือนไทย
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันป้องกันประเทศ วันที่ 2พ.ค.2550เวลา 11.00 น. พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ.และประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) ให้สัมภาษณ์ถึงการเข้าพบของเลขาธิการโอไอซี. ว่าได้เล่าถึงเหตุการณ์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ให้ฟังโดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมที่มองชาวมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจากข้อเท็จจริงตรงนี้นำไปสู่สถานการณ์ในภาคใต้ ซึ่งเลขาธิการโอไอซี.ก็เข้าใจปัญหาและข้อเท็จจริงทั้งหมดและบอกว่ารู้สึกดีใจที่ได้รับข้อมูลที่ชัดเจน ซึ่งในส่วนของเงื่อนไขที่เลขาธิการโอไอซี.ได้เตรียมมา เขาก็บอกว่าจะยกเลิกทั้งหมด
เมื่อถามว่า เงื่อนไขที่เลขาฯโอไอซี.เตรียมมาจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้หรือไม่ พล.อ.สนธิ บอกว่า ไม่ใช่แต่เลขาโอไอซี.มีข้อมูลที่ได้รับมาจากที่อื่น ถึงเรื่องการกำหนดพื้นที่พิเศษอะไรต่าง ๆ เมื่อเขาได้รับฟังข้อเท็จจริงจนเข้าใจแล้ว ก็ได้บอกยกเลิกเงื่อนไขทั้งหมดที่จะนำมาเสนอต่อรัฐบาลไทย
ต่อข้อถามที่ว่า เลขาโอไอซี.เตรียมข้อมูลมาเพื่อแทรกแซงสถานการณ์ภายในประเทศไทยใช่หรือไม่ พล.อ.สนธิ บอกว่า ข้อมูลที่โอไอซี.รับมารู้สึกกังวล ซึ่งหลังจากที่เราชี้แจงเขารู้สึกเบาใจและยกเลิกไป
ถามว่า เลขาโอไอซี.ยืนยันหรือไม่จะรับฟังข้อมูลจากเราโดยตรง พล.อ.สนธิ บอกว่า เขามีหน้าที่ศึกษาความเป็นอยู่ของชาวมุสลิมในประเทศต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่า คนที่ให้ข้อมูลมีทั้งฝ่ายรัฐบาลและไม่ใช่ฝ่ายรัฐบาล ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่เขารับข้อมูลหลายด้าน เพียงแต่ว่ารัฐบาลจะต้องให้ข้อมูลที่ชัดเจน
เมื่อถามว่า เป็นการให้ข้อมูลเพื่อป้องกันไม่ให้เขาแทรกแซงกิจการภายในของไทย พล.อ.สนธิ กล่าวว่า จริง ๆ แล้วโอไอซี.เข้ามาเพื่อดูแลคนมุสลิมในประเทศไทย ถ้าเขาเข้าใจปัญหาก็ไม่น่าห่วง แต่ที่เขามาเพราะเขารู้ปัญหา ซึ่งมีหลายคนไปชี้แจงข้อมูลโดยเขานำมาประกอบกันและเข้าใจในปัญหา
เมื่อถามว่า หากโอไอซี.ไม่เข้าใจข้อมูลสามารถสอบถามกับเจ้าของประเทศเองโดยตรง พล.อ.สนธิ กล่าวว่า คำว่าเจ้าของประเทศกับผู้ที่ให้ข้อมูลก็เป็นคนในประเทศ ที่มีความคิดแตกต่างกัน ถือเป็นปกติของผู้รับฟังที่ต้องฟังจากหลายด้าน ซึ่งถือเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา
ต่อข้อถามที่ว่า โอไอซี.ได้ฝากให้เราดูแลคนมุสลิมอย่างไร พล.อ.สนธิ บอกว่า ตนได้อธิบายให้เลขาโอไอซี.ฟังว่าที่มองว่าคนมุสลิมเป็นชนชั้นสอง เขาบอกว่าเขาไม่คิดแล้วในขณะนี้ เพราะผู้ใหญ่ในรัฐบาล ไม่ว่าจะคนมุสลิมที่เคยเป็นรองนายกฯและรัฐมนตรี ถือว่าเป็นความเสรีภาพให้อิสระในการดำรงชีวิต มีความเท่าเทียมกับในประเทศไทย
เมื่อถามว่าจะชี้แจงไปยังคณะกรรมการกลางอิสลามให้เข้าใจถึงการเข้าพบของเลขาโอไอซี.หรือไม่ พล.อ.สนธิ กล่าวว่า ถ้ามีโอกาสคงได้พูดคุยกัน
ส่วนที่จะเชิญสื่อฯมาชี้แจงปัญหาภาคใต้ พล.อ.สนธิ บอกว่า ขณะนี้ให้เจ้ากรมยุทธการทหารบก เตรียมข้อมูลมาให้ตนดูเพื่อให้รู้ว่ามีอะไรบ้างเพื่อนำมาประกอบการชี้แจง เพื่อไปจัดเตรียมคำบรรยายให้สอดคล้องกัน ซึ่งในสัปดาห์นี้คงไม่ทัน

ปธ.อิสลามปัตตานีต้องการให้โอไอซีรับทราบปัญหาใต้
กรณีที่องค์กรมุสลิมโลก หรือโอไอซี จะเดินทางมายังจังหวัดชายแดนใต้นั้น นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี บอกว่า ในวันนี้พี่น้องมุสลิมในพื้นที่ ตำบลปุโล๊ะปูโย อำเภอหองจิก จังหวัดก็ได้เรียกร้องความเป็นธรรมและหาผู้รับผิดชอบกับเหตุระเบิด และยิงบริเวณมัสยิดบ้านอูแตบองอ ตำบลปูโล๊ะปูโย ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้นำศาสนาประจำมัสยิดเสียชีวิต และได้มีการกดดันให้เชิญตัวแทนของโอไอซี ลงพื้นที่เพื่อรับทราบปัญหาข้อเท็จจริงทั้งหมด ซึ่งคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดว่ามีหน้าที่แค่ประสานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และยินดีที่จะนำปัญหาต่างๆไปหารือกับหน่วยงานที่มีความรับผิดชอบ

ส่วนกรณีการพบปะกับตัวแทนขององค์กรโอไอซีตามคำเชิญของรัฐบาลนั้น ตนคิดว่า คงไม่แตกต่างอะไรกับการมาครั้งที่ผ่านมา โดยเฉพาะเรื่องเวลาคงมีไม่มากพอที่ผู้นำศาสนา หรือแม้ประชาชนในพื้นที่ที่อยากนำเสนอปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างชนิดตรงไปตรงมา เพื่อที่จะได้มีการรับรู้ปัญหาที่แท้จริง ดังนั้นคงไม่มีอะไรที่ต้องเน้นเป็นพิเศษ โดยเฉพาะบทบาทและหน้าที่ที่ทุกฝ่ายต้องไม่ลืมขอบเขต และอำนาจหน้าที่ของตัวเอง

มท.1 ชี้แจงเหตุไฟใต้
นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวก่อนหารือร่วมกับองค์การการประชุมอิสลาม หรือ โอไอซี ว่าจะชี้แจงให้เข้าใจบทบาทการทำงานในแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยให้ทราบ โดยเฉพาะการบิดเบือนคำสอนทางศาสนา และแนวทางการทำงานของรัฐบาลที่เน้นความสมานฉันท์ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถสร้างความเข้าใจให้กับโลกมุสลิมได้มากขึ้น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีเร่งให้ทุกกระทรวงขับเคลื่อนการทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างบูรณาการ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาภาคใต้ว่า กระทรวงมหาดไทยจะสนับสนุนการทำงานของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน หรือ กอ.รมน.อย่างเต็มความสามารถในการร่วมแก้ปัญหา

OIC Delegation received by General Sonthi
General Sonthi Boonyaratglin, Commander in Chief of the Royal Thai Army received on 27 April 2007 Ambassador Sayed El-Masri, Special Adviser to the Secretary General of the Organisation of the Islamic Conference (OIC) Prof. Ekmeleddin Ihsanoglu, who is leading a delegation from the OIC that arrive Bangkok ahead of the Secretary General's official visit to that country. Prof. Ihsanoglu, who will arrive Bangkok April 30th, 2007 upon an invitation from the Thai Government is expected to discuss the situation of Muslim minorities in the southern Thailand in light of a new policy adopted by the current government of Thailand, as he intends to present a report on the above-mentioned issue to the upcoming Islamic Conference of Foreign Ministers that will convene in Islamabad on May 15 - 17, 2007.
Jeddah: 29 April 2007.ที่มา OIC * * * * * * * * * * * * * * *


Joint Press Statement of H.E. Prof. Ekmeleddin Ihsanoglu, Secretary General of the Organization of the Islamic Conference (OIC), and H.E. Mr. Nitya Pibulsonggram, Minister of Foreign Affairs of the Kingdom of Thailand, at the conclusion of the OIC delegation's official visit to Thailand on 1 May 2007
May 1, 2007, 9:05 pm

1. Upon the invitation of the Royal Thai Government, H.E. Prof. Ekmeleddin Ihsanoglu, Secretary General of the OIC, accompanied by a high level delegation, paid an official visit to Thailand from 30th April to 1st May 2007. The OIC delegation's visit precedes the Foreign Minister's participation in the upcoming 34th Islamic Conference of Foreign Ministers in Islamabad, during 15-17 May 2007.

2. The OIC delegation was received by the Prime Minister, General Surayud Chulanont; President of the Council for National Security, General Sonthi Boonyaratglin; Minister of Foreign Affairs, Mr. Nitya Pibulsonggram; and Minister of Interior, Mr. Aree Wongaraya. The OIC delegation also held discussions with the Director of the Southern Border Provinces Administrative Center (SBPAC), Mr. Pranai Suwanrath; Provincial Governors of the Southern Border Provinces as well as with former Prime Minister and former Chairman of the National Reconciliation Commission, Mr. Anand Panyarachun; and former Foreign Minister, Dr. Surin Pitsuwan.

3. The OIC delegation also visited the Foundation of the Islamic Centre of Thailand (FICT) and held consultations with representatives of the Thai Muslim community as well as representatives of several non-governmental organizations and religious and community leaders.

4. The visit was marked by candid and constructive discussions between the OIC delegation and a comprehensive range of organizations, distinguished persons and government agencies.

5. The visit reflects the deep interest and sincere efforts of the OIC to follow the developments and further examine the conditions of the Thai Muslims in the Southern Border Provinces as well as throughout Thailand. During the official discussions, the OIC delegation was fully briefed on Thailand's endeavor to address the problem through reconciliation and by peaceful means.

6. The OIC delegation expressed its concern over the prevailing situation in the Southern Border Provinces where the climate of violence has continued and the safety of innocent persons compromised. To further build-up the trust and confidence of the local population and allay any concern over issues of impunity and injustice, the ongoing process of accountability should be accelerated, coupled with prompt and effective investigation of any allegation of human rights abuses and promoting the rule of law in all fields. The OIC delegation believes that the long-term solution should entail granting the people of the region greater responsibility in governing effectively their local affairs, within the framework of the Thai Constitution.

7. The OIC delegation welcomed the assurances of the Thai Government that resolving the unrest in Thailand's Southern Border Provinces remains a national agenda and top priority of the Thai Government. The OIC delegation also welcomed the Government's commitment to address the root causes of the problem through a comprehensive approach based on reconciliation and accommodation. The Thai side emphasized the importance of this comprehensive approach in improving the overall quality of life, through strengthening the judicial system, encouragement of people's participation in local administration, and promotion of economic, social and educational development, with respect for identity, culture and religion. The OIC delegation welcomed the measures of cooperation and partnership agreed upon between Thailand and the neighboring countries in this regard.

8. The Thai side acquainted the OIC delegation about the Government's pilot project in the field of education where, at present, 12 demonstration schools have begun teaching in both Thai and local languages. Based on the Education Plan for the Southern Border Provinces recently adopted by the Cabinet, Islamic subjects shall be included in the local state-owned schools' curricula.

9. The Thai side further informed the visiting delegation that measures are being taken to enhance the application of Sharia Law to family-related cases in the Southern Border Provinces.

10. The OIC delegation reaffirmed their support for the Prime Minister's conciliatory gesture and policies towards the Thai Muslim community. Both sides emphasized the importance of introducing additional confidence building measures. They expressed hope that these efforts would pave the way for a sustainable and peaceful solution. The OIC delegation further confirmed its readiness to help and positively contribute to the success of this process. The Thai side welcomed this offer.

11. The OIC delegation noted with satisfaction that Thai Muslims throughout Thailand, including those in the Southern Border Provinces, enjoy full freedom in exercising their religious rights as do Thais of other religions. The OIC delegation reiterated that the situation in the South is not a religious conflict, but a conflict that is related to political, civil, and socio-economic rights.

12. Both sides reiterated their grave concern over the massive loss of lives among Thai citizens being Muslims, Buddhists or other faiths and denounced the indiscriminate violence against innocent civilians. This climate of violence instigated by attacks on civilians, from any quarter, had adversely affected the human rights situation and should not be allowed to continue.

13. The Thai side assured the OIC delegation of the importance that the Thai Government attaches to thorough investigation in all cases and in particular to the ongoing judicial process in the case of Mr. Somchai Neelaphaijit, former Chairman of the Muslim Lawyers
Association. The Thai Government outlined the remedial measures taken to provide assistance to the families of those affected from the Krue Se and Tak Bai incidents, which include financial assistance, scholarships and living allowances for children, as well as other forms of social assistance.

14. The OIC delegation welcomed the Thai Government's decision, immediately after taking office, to drop all charges against the 58 protestors arrested during the Tak Bai incident. Both sides reiterated that the judicial process based on the rule of law, evidence and transparency is of utmost importance in creating an environment of trust, justice, peace and security, so as to ensure that no climate of impunity exists.

15. The OIC delegation expressed its appreciation for the productive cooperation between Thailand and members of the OIC in a wide range of areas including education, public health, Halal food, tourism and looked forward to continued partnership in the future. The Thai side expressed its readiness to further strengthen the partnership and exchange knowledge and experiences in areas of mutual interest through initiatives such as the Workshop on Avian Influenza Prevention and Control to be held in June 2007 in Cairo and the proposed 2nd International Islamic Economic, Culture and Tourism Conference in Bangkok.

16. Both sides reiterated their readiness to expand their constructive cooperation with a view to enabling the people of the Southern Border Provinces to assume the responsibilities over their domestic affairs through a decentralization process that allows the people to practice their own cultural and linguistic specificity and manage their natural resources in full respect for the sovereignty and territorial integrity of Thailand.

17. Both sides deplore the non-objective campaign from any quarter, which contains disinformation and misinformation, intentionally or unintentionally, spreads hatred and contributes to creating a climate of fear and instability. To this end, both sides underlined the imperatives of employing a holistic approach in achieving reconciliation and integration while promoting cultural and religious tolerance.

18. The OIC delegation expressed its appreciation for the excellent arrangements and generous hospitality extended to the delegation by the Thai side in the spirit of mutual respect which helped bring about a successful conclusion of the visit.
ที่มากระทรวงการต่างประเทศ

* * * * * * * * * * * * *

แถลงข่าวร่วมระหว่างศาสตราจารย์ Ekmeleddin Ihsanoglu เลขาธิการองค์การการประชุมอิสลาม (OIC) และนายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในโอกาสการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของเลขาธิการ OIC วันที่ 1 พฤษภาคม 2550
01 พฤษภาคม 2550 21:05:27


1. ศาสตราจารย์ Ekmeleddin Ihsanoglu เลขาธิการ OIC พร้อมด้วยคณะผู้แทนระดับสูง ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ตามคำเชิญของรัฐบาลไทย ระหว่างวันที่ 30 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2550 ทั้งนี้ ภายหลังการเยือนประเทศไทยของเลขาธิการ OIC รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเดินทางไปร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของ OIC ครั้งที่ 34 (Islamic Conference of Foreign Ministers- ICFM 34) ณ กรุงอิสลามาบัด ประเทศปากีสถาน ระหว่างวันที่ 15-17 พฤษภาคม 2550

2. คณะผู้แทน OIC ได้เข้าเยี่ยมคารวะพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นอกจากนั้น คณะผู้แทน OIC ยังได้พบและหารือกับนายพระนาย สุวรรณรัฐ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส) และ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

3. คณะผู้แทน OIC ได้เดินทางไปเยี่ยมเยียนมูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย และได้ประชุมหารือกับผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชนไทยมุสลิม และผู้แทนองค์กรเอกชน

4. ในระหว่างการเยือนนี้ คณะผู้แทน OIC ได้หารือกับบุคคลสำคัญของไทย ผู้แทนหน่วยงานรัฐบาลและองค์กรต่างๆอย่างตรงไปตรงมาและสร้างสรรค์

5. การเยือนครั้งนี้ แสดงถึงความสนใจและความพยายามอย่างจริงใจของ OIC ในการติดตามพัฒนาการและสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยมุสลิม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้และจังหวัดอื่นๆ ทั่วทั้งประเทศไทย ทั้งนี้ ในระหว่างการหารืออย่างเป็นทางการ ฝ่ายไทยได้ให้ข้อมูลและสร้างความเข้าใจแก่คณะผู้แทน OIC เกี่ยวกับความพยายามของไทยในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยแนวทางสมานฉันท์และ
สันติวิธี

6. คณะผู้แทน OIC แสดงความห่วงกังวลถึงสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งยังคงมีความรุนแรง และกระทบต่อความปลอดภัยของผู้บริสุทธิ์ ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจและความไว้ใจของประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งลดความกังวลเกี่ยวกับการไม่ลงโทษผู้กระทำผิดและการได้รับความไม่ยุติธรรม ควรมีการเร่งรัดกระบวนการของความรับผิดชอบ พร้อมกับการดำเนินการสอบสวนโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในข้อหาที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการส่งเสริมการใช้กฎหมายในด้านต่างๆ นอกจากนั้น คณะผู้แทน OIC ยังเชื่อว่า การแก้ปัญหาในระยะยาว ควรจะรวมถึงการให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนรับผิดชอบมากขึ้นในการบริหารกิจการในท้องถิ่น ภายใต้ขอบเขตของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

7. คณะผู้แทน OIC ยินดีที่รัฐบาลไทยให้ความมั่นใจว่า การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังคงเป็นวาระแห่งชาติ และรัฐบาลได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างสูง คณะผู้แทน OIC ได้แสดงความยินดีที่รัฐบาลไทยมีความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ ด้วยแนวทางแบบบูรณาการบนพื้นฐานของความสมานฉันท์และความปรองดอง ฝ่ายไทยได้ย้ำความสำคัญในการใช้แนวทางดังกล่าวเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนไทยมุสลิมทุกด้าน ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรม การส่งเสริมการมีส่วนรวมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น และการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา โดยเคารพในอัตลักษณ์ วัฒนธรรม และศาสนา คณะผู้แทน OIC ได้แสดงความยินดีในมาตรการความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในการดำเนินการด้านนี้ด้วย

8. ฝ่ายไทยแจ้งให้คณะผู้แทน OIC ทราบเกี่ยวกับโครงการนำร่องของรัฐบาลในด้านการศึกษา โดยปัจจุบัน โรงเรียนสาธิตจำนวน 12 แห่ง ได้เริ่มทำการเรียนการสอนทั้งโดยภาษาไทยและภาษาท้องถิ่น นอกจากนั้น คณะรัฐมนตรียังได้อนุมัติแผนการศึกษาสำหรับโรงเรียนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งกำหนดให้บรรจุวิชาด้านอิสลามไว้ในหลักสูตรของโรงเรียนรัฐบาลในท้องถิ่นด้วย

9. ฝ่ายไทยแจ้งให้คณะผู้แทน OIC ทราบว่า รัฐบาลกำลังดำเนินการเพื่อเพิ่มการนำกฎหมายอิสลาม มาใช้ในคดีเกี่ยวกับครอบครัวในจังหวัดชายแดนภาคใต้
10. คณะผู้แทน OIC ย้ำการสนับสนุนแนวทางสมานฉันท์ของนายกรัฐมนตรีต่อชุมชนไทยมุสลิม ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ย้ำความสำคัญของการเพิ่มมาตรการสร้างความเชื่อมั่น และแสดงความหวังว่า ความพยายามดังกล่าวจะนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนโดยสันติวิธี นอกจากนั้น คณะผู้แทน OIC ได้ยืนยันความพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือและสนับสนุนอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้กระบวนการแก้ไขปัญหาบรรลุผลสำเร็จ ซึ่งฝ่ายไทยมีความยินดีที่ OIC ได้เสนอให้การสนับสนุน

11. คณะผู้แทน OIC แสดงความพอใจที่ชาวไทยมุสลิมทั่วประเทศ รวมทั้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีสิทธิและเสรีภาพโดยสมบูรณ์ในการนับถือศาสนา เช่นเดียวกับคนไทยที่นับถือศาสนาอื่น คณะผู้แทน OIC ย้ำว่า สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ใช่ความขัดแย้งทางศาสนา แต่เป็นความขัดแย้งที่เกี่ยวกับสิทธิทางการเมือง สิทธิพลเมือง และสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคม

12. ทั้งสองฝ่ายแสดงความกังวลอย่างยิ่งต่อการสูญเสียชีวิตของประชาชนเป็นจำนวนมาก ทั้งชาวพุทธ ชาวมุสลิม และผู้ที่นับถือศาสนาอื่น พร้อมทั้ง ได้ประณามการใช้ความรุนแรงโดยไม่ละเว้นต่อผู้บริสุทธิ์ เพราะการกระทำรุนแรงต่อประชาชนไม่ว่าจากฝ่ายใดก็ตาม ได้ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์สิทธิมนุษยชน และไม่ควรให้เกิดขึ้นต่อไป

13. ฝ่ายไทยได้ให้ความมั่นใจกับคณะผู้แทน OIC ว่า รัฐบาลไทยให้ความสำคัญต่อการสืบสวน และการดำเนินการตามกระบวนยุติธรรมในคดีนายสมชาย นีละไพจิตร อดีตประธานสมาคมทนายความมุสลิม นอกจากนี้ รัฐบาลไทยได้ดำเนินการตามมาตรการเยียวยา เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ครอบครัวผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์กรือเซะและตากใบ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน การให้ทุนการศึกษาและค่าเลี้ยงดูบุตร และความช่วยเหลือในทางสังคมอื่นๆ

14. คณะผู้แทน OIC ยินดีที่รัฐบาลไทยได้ดำเนินการถอนฟ้องผู้ชุมนุมประท้วงซึ่งถูกจับกุมในเหตุการณ์ตากใบจำนวน 58 คน ในทันทีที่รัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ และทั้งสองฝ่ายได้ย้ำว่า กระบวนการยุติธรรมตามหลักนิติธรรม พยานหลักฐาน และความโปร่งใส เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างบรรยากาศของความเชื่อมั่น ความยุติธรรม สันติภาพ และความมั่นคง ซึ่งจะช่วยประกันไม่ให้มีการกระทำผิดโดยไม่ได้รับการลงโทษ

15. คณะผู้แทน OIC ชื่นชมความร่วมมืออันดีระหว่างไทยกับประเทศสมาชิก OIC ซึ่งครอบคลุมความร่วมมือในสาขาต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งด้านการศึกษา สาธารณสุข อาหารฮาลาล และการท่องเที่ยว พร้อมทั้ง แสดงความหวังว่า ความร่วมมือในลักษณะหุ้นส่วนดังกล่าวจะยังคงดำเนินต่อไป นอกจากนี้ ฝ่ายไทยได้แสดงความพร้อมที่จะเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนและการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในสาขาที่ทั้งสองฝ่ายสนใจร่วมกัน โดยผ่านโครงการริเริ่มต่างๆ อาทิ การอบรมเชิงปฏิบัติว่าด้วยการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก (Workshop on Avian Influenza Prevention and Control) ซึ่งจะจัดขึ้นที่กรุงไคโร ในเดือนมิถุนายนนี้ และการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ของกลุ่มประเทศอิสลาม ครั้งที่ 2 (2nd International Islamic Economic Culture and Tourism Conference) ณ กรุงเทพมหานคร

16. ไทยและ OIC ได้ย้ำถึงความพร้อมที่จะขยายความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ระหว่างกัน ที่จะช่วยให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีส่วนรับผิดชอบกิจการในท้องถิ่นตามกระบวนการกระจายอำนาจ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตตามลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมและภาษา และสามารถการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยยึดมั่นในอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศไทย

17. ไทยและ OIC ได้แสดงความเสียใจที่กลุ่มผู้มีเจตนาไม่บริสุทธิ์ ไม่ว่าจากฝ่ายใดก็ตาม ได้พยายามเผยแพร่ข้อมูลที่บิดเบือนและเป็นเท็จ ทั้งโดยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งสร้างความเกลียดชัง และบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวและความไร้เสถียรภาพ ในการนี้ ทั้งสองฝ่ายเน้นความจำเป็นที่จะต้องอาศัยหาแนวทาง การแก้ไขปัญหาที่ครอบคลุมทั่วทุกด้าน
เพื่อนำไปสู่ความสมานฉันท์และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พร้อมกับการส่งเสริมการยอมรับต่อกันในทางวัฒนธรรมและศาสนา

18. คณะผู้แทน OIC ได้แสดงความขอบคุณฝ่ายไทยที่ได้เตรียมการอย่างดียิ่ง และให้การต้อนรับคณะ
ด้วยไมตรีจิตและการเคารพซึ่งกันและกัน เป็นผลให้การเยือนครั้งนี้ประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง

* * * * * * * * * * * * * * *

คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ สารจากเลขาธิการ OIC ถึงชาวไทยมุสลิมไทยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
02 พฤษภาคม 2550 01:31:22
ด้วยพระนามของอัลลอฮผู้ทรงกรุณาปราณีผู้ทรงเมตตาเสมอ
สารจาก โอ ไอ ซี


สารจากข้าพเจ้าถึงชาวไทยมุสลิม โดยเฉพาะพี่น้องมุสลิมในภาคใต้ของไทยที่กำลังประสบกับความเศร้าโศกใจ ซึ่งเป็นสารแห่งสันติภาพ และสารแห่งภารดรภาพของอิสลาม อันที่จริง ข้าพเจ้าได้มาอยู่ตรงนี้ พร้อมกับความรู้สึกแห่งความเป็นพี่น้องอิสลาม มนุษยธรรมและเต็มไปด้วยความห่วงใยเกี่ยวกับสถานการณ์อันเศร้าโศก ที่พี่น้องมุสลิมกำลังประสบอยู่ในประเทศอันเป็นที่รักของท่าน ข้าพเจ้าได้รับคำเชิญจากรัฐบาลใหม่ของไทยเพื่อรับทราบถึงสถานการณ์จากแหล่งของปัญหา หลังจากที่ข้าพเจ้าได้รับทราบถึงแนวทางสร้างสรรค์ที่ทางรัฐบาลใหม่กำลังดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาที่รากเหง้า ไม่ใช่แค่เพียงแต่แก้ไขปัญหาที่ภายนอก ซึ่งรัฐบาลไทยได้เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาในทุกๆ ด้าน (holistic) รวมถึงการให้โอกาสแก่ประชาชนในภาคใต้ได้มีส่วนในการบริหารกิจการภายในท้องถิ่นด้วยตัวเอง ซึ่งจะสามารถดำเนินชีวิตในกรอบวัฒนธรรมและภาษาของตนเอง รวมทั้งบริหารทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนเศรษฐกิจ และเดินหน้าพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ มีการนำพาความสงบสุข ความมั่นคง ความรักใคร่และสันติภาพระหว่างพี่น้องร่วมชาติ ไม่คำนึงถึงความเชื่อทางศาสนาดังที่ท่านทั้งหลายทราบดีว่า สารแห่งอิสลามได้ส่งเสริมสันติภาพ ความรักใคร่และปฏิบัติตนที่ดีต่อคนรอบข้าง เอกองค์อัลลอฮได้ตรัสในพระมหาคัมภีร์กุรอาน ความว่า "แท้จริงแล้วเราได้สร้างประชาชาติและเผ่าพันธุ์ทั้งหลายเพื่อทำความรู้จักซึ่งกันและกัน" และอัลกุรอานได้ห้ามการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตอย่างเด็ดขาด พระองค์ทรงกล่าวความว่า "ใครฆ่าบุคคลคนหนึ่ง และสร้างความเสียหายบนพื้นโลก เปรียบเสมือนการฆ่ามนุษย์ทั้งมวล" โดยการฆ่าบุคคลหนึ่งคนเปรียบเสมือนการล้างเผ่าพันธุ์ ในความหมายปัจจุบัน" นั่นเอง
ชาวมุสลิมได้อยู่อาศัยในสังคมที่มีความหลากหลาย อย่างสันติและสามัคคี และให้ความร่วมมือซึ่งกันและกันมาเป็นเวลายาวนาน มีชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ในโลกนี้นับเป็น จำนวนหนึ่งในสาม และเป็นชุมชนมุสลิมที่ทำคุณประโยชน์แก่สังคมของตนเอง ปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วทุกหนแห่ง เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก ที่ได้เข้ามาแทรกแซงความคิดของอิสลาม และกระทบต่อขนบธรรมเนียมที่ดีของชาวมุสลิม
ข้าพเจ้าขอให้ท่านสบายใจ และขอสัญญาว่า เราจะให้ความสนับสนุน และจะร่วมมือกับรัฐบาลไทยอย่างต่อเนื่องตามที่ได้ตกลงกันไว้ในวันนี้ เพื่อบรรลุถึงความหวังของท่านทั้งหลายในอันที่จะดำเนินชีวิตอย่างมีเกียรติ ท่ามกลางความสงบสุข ความเจริญรุ่งเรือง และสันติภาพ
ข้าพเจ้าขอพรจากเอกองค์อัลลอฮเพื่อทรงดลบันดาลให้ทุกย่างก้าวของเราประสบผลสำเร็จ

* * * * * * * * * * * * * *


สรุปสาระสำคัญการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ วันพุธที่ 2 พฤษภาคม 2550
02 พฤษภาคม 2550 19:33:01
นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องประชุมกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่างๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

1.ผลการเยือนไทยของเลขาธิการOIC

นาย Ekmeleddin Ihsanoglu เลขาธิการองค์การการประชุมอิสลาม (Organization of Islamic Conference : OIC) เยือนไทยเป็นครั้งแรกอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 30 เมษายน - 2 พฤษภาคม 2550 โดยระหว่างการเยือนนาย Ekmeleddin Ihsanoglu ได้พบกับบุคคลสำคัญต่าง ๆ เช่น นายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารบก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตลอดจนการพบหารือกับผู้นำชุมชนไทยมุสลิม อาทิ ประธานกรรมการอิสลาม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อธิการบดีมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา กรรมการมูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย ผู้แทนชมรม นักกฎหมายมุสลิม ผู้แทนสภาเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งเอเชีย ผู้แทนองค์กรเอกชนมุสลิม และ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล เป็นต้น

นาย Ekmeleddin Ihsanoglu ได้สนับสนุนและให้กำลังใจรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงโดยสันติวิธี โดยเห็นว่า แนวทางที่รัฐบาลไทยได้ดำเนินมานั้นมีความเหมาะสมแล้ว และ OIC พร้อมจะให้ความช่วยเหลือทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม

นอกจากนั้น ระหว่างการแถลงข่าวร่วมกับนายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2550 ณ กระทรวงการต่างประเทศ นาย Ekmeleddin Ihsanoglu ได้มีสารภาษาอารบิคถึงพี่น้องมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียกร้องให้ประชาชนมุสลิมร่วมมือกับรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาและยุติความรุนแรง


ภายหลังการแถลงข่าวร่วม นาย Ekmeleddin Ihsanoglu ได้ให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ Al Jazeera ว่า การเยือนครั้งนี้ทำให้ตนมีความเชื่อมั่นในนโยบายและการดำเนินงานของรัฐบาลไทย เนื่องจากมีโอกาสได้พบปะกับผู้กำหนดนโยบายของภาครัฐ ตัวแทนองค์กรมุสลิม รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ ทำให้ได้ทราบและเข้าใจสถานการณ์รวมไปถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
* * * * * * * * * * * * * * *


สรุปประเด็นการให้สัมภาษณ์สำนักข่าว Al Jazeera ของเลขาธิการ OIC เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2550
02 พฤษภาคม 2550 02:03:34


- เลขาธิการ OIC เคยได้รับเชิญเยือนประเทศไทยแล้ว 2 ครั้ง แต่ครั้งที่ผ่านมา ช่วงเวลาไม่เหมาะสม ในครั้งนี้ ได้ตัดสินใจมาเยือนไทย เพราะมีความชื่นชมในนโยบาย แนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาลไทย โดยเฉพาะการที่รัฐบาลได้กล่าวขอโทษและยอมรับว่า มีความผิดพลาดในนโยบายของรัฐบาลชุดก่อน

- ในการพบปะกับนายกรัฐมนตรีและกับ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เลขาธิการ OIC รู้สึกได้ถึงความตั้งใจจริงและความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยที่จะแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

-OIC สนับสนุนการดำเนินการของรัฐบาลไทย และถึงแม้ว่าประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อาจจะยังคงมีความรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรมและการไม่นำผู้กระทำผิดมาลงโทษ แต่ก็เชื่อว่า จะสามารถคลี่คลายปัญหาไปได้

-การนิรโทษกรรมให้แก่บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นการแสดงออกถึงความจริงใจของรัฐบาล

- OIC เห็นว่า ข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) เป็นแนวทาง (blueprint) ในการแก้ไขปัญหาภาคใต้ และ OIC สนับสนุนการพูดคุยระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง

-OIC เห็นว่า อธิปไตยและบูรณภาพของไทยต้องได้รับการเคารพ ควบคู่ไปกับกระบวนการกระจายอำนาจและการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารท้องถิ่นและจัดการทรัพยากรในพื้นที่ ซึ่งเชื่อว่า รัฐบาลไทยกำลังดำเนินนโยบายเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว

- OIC ได้แจ้งให้รัฐบาลไทยทราบถึงความเห็นและความรู้สึกของ OIC ต่อสถานการณ์แล้ว ซึ่ง OIC เห็นว่า การใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยเป็นเรื่องใหม่ แต่ไม่ใช่เรื่องของศาสนา ศาสนาอิสลามเพียงถูกนำมาสร้างความชอบธรรมให้กับการกระทำและก่อการต่างๆ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าอิสลามเป็นต้นเหตุของความรุนแรงที่เกิดขึ้น และคำสอนและหลักการของศาสนาอิสลามไม่เคยสนับสนุนการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา * * * * * * * * * * * * *
นิรโทษกรรมให้แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้
01 พฤษภาคม 2550 21:19:10

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวแก่ผู้สื่อข่าวระหว่างการแถลงข่าว ร่วมกับ Professor Dr. Ekmeleddin Ihsanoglu เลขาธิการองค์การการประชุมอิสลามเรื่องการนิรโทษกรรมว่า
o ตามที่มีข่าวว่ารัฐบาลกำลังพิจารณาที่จะให้มีการนิรโทษกรรมแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเป็นการแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรมถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่จะส่งเสริมความสมานฉันท์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะช่วยสร้างบรรยากาศที่เกื้อกูลต่อการลดความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ดังกล่าว
o ขอแถลงว่า นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ดำเนินการเรื่องการนิรโทษกรรมที่กล่าวถึงนี้แล้ว
o รัฐบาลจะเสนอร่างพระราชบัญญัติเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้มีการนิรโทษกรรมแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความไม่สงบในภาคใต้ ที่ไม่ได้กระทำความผิดทางอาญา
o รัฐบาลไทยได้ใช้โอกาสการเยือนของเลขาธิการองค์การการประชุมอิสลาม (OIC) ในการแจ้งให้ทราบถึงพัฒนาการล่าสุดนี้ และเลขาธิการ OIC ได้แสดงความขอบคุณและสนับสนุน

* * * * * * * * * * * *


การเยือนไทยของเลขาธิการ OIC
25 เมษายน 2550 15:32:47

Prof.Dr. Ekmeleddin Ihsanoglu เลขาธิการองค์การการประชุมอิสลาม (Organization of Islamic Conference : OIC) พร้อมด้วยคณะรวม 6 คน จะเดินทางมาเยือนไทยระหว่างวันที่ 30 เมษายน - 2 พฤษภาคม 2550 ตามคำเชิญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ในระหว่างการเยือนไทย เลขาธิการ OIC จะเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารบก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตลอดจนการพบหารือกับผู้นำชุมชนไทยมุสลิม อาทิ ประธานกรรมการอิสลาม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อธิการบดีมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา กรรมการมูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย ผู้แทนชมรม นักกฎหมายมุสลิม ผู้แทนสภาเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งเอเชีย ผู้แทนองค์กรเอกชนมุสลิม และ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล เป็นต้น

การเยือนไทยครั้งนี้นับเป็นการเยือนไทยครั้งแรกของเลขาธิการ OIC คนปัจจุบัน จึงเป็นโอกาสอันดีที่เลขาธิการ OIC จะได้รับทราบนโยบายรัฐบาลในการเสริมสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนมาตรการต่างๆ ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างความสมานฉันท์ในพื้นที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเลขาธิการ OIC ให้ความสนใจ
ที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2549 OIC ได้ออกแถลงข่าวแสดงความยินดีต่อมาตรการของรัฐบาลไทย แสดงความชื่นชมนายกรัฐมนตรี และแสดงความเชื่อมั่นว่า การดำเนินการของรัฐบาลเป็นแนวทางที่ถูกต้อง และ OIC พร้อมที่จะสนับสนุนไทย
ในโอกาสนี้ เลขาธิการ OIC จะได้รับทราบสภาพการณ์ ข้อเท็จจริง และความเป็นอยู่ของชาวไทยมุสลิมในประเทศ และได้รับทราบความแตกต่างของชาวไทย-มุสลิมในภูมิภาคต่างๆ ของไทย ซึ่งมีจำนวนกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนชาวไทยมุสลิมทั้งหมดในประเทศ โดยรับทราบข้อมูลจากหน่วยงานทุกภาคส่วนจากทั้งภาครัฐ เอกชน นักวิชาการ ผู้นำทางศาสนาและผู้นำชุมชนมุสลิมทั่วประเทศ และกลุ่ม NGO ต่างๆ
นอกจากนี้ การเยือนไทยครั้งนี้ยังนับเป็นโอกาสอันดีที่ไทยและ OIC จะร่วมกันหาแนวทางส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือในด้านอื่นๆ ทั้งด้านการค้า การลงทุน สังคมและวัฒนธรรมระหว่างกันด้วย อาทิ ไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมและการฝึกอบรมป้องกันโรคไข้หวัดนกให้แก่สมาชิก OIC เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และเทคโนโลยีของไทยในเรื่องนี้ให้แก่สมาชิก OIC ที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 15 - 19 มกราคม ที่ผ่านมา และจะจัดการฝึกอบรมฯ ครั้งที่สองให้แก่สมาชิก OIC ที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ในเดือนมิถุนายน ศกนี้
ในส่วนการส่งเสริมด้านการค้า สมาคมนักธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย-มุสลิม ซึ่งเป็นสมาชิกของสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมของ OIC (Islamic Chamber of Commerce and Industry-ICCI) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย เพื่อร่วมเป็นพันธมิตรในการส่งเสริมธุรกิจและอุตสาหกรรม SMEs โดยเฉพาะด้านอาหารฮาลาล อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ และสินค้าแฟชั่น เป็นต้น นอกจากนี้ สมาคมนักธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย-มุสลิมอยู่ในระหว่างการประสานงานกับ Islamic Chamber of Commerce and Industry ของ OIC เพื่อพิจารณาจัดการประชุมสัมมนาทางวิชาการและความร่วมมือระห่างประเทศโลกอิสลาม " การประชุมเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว 2007 "
ในด้านการศึกษา OIC ได้มีบทบาทในการช่วยพัฒนาการศึกษาสำหรับชาวไทยมุสลิม โดยธนาคารเพื่อการพัฒนาอิสลาม (Islamic Development Bank - IDB) ซึ่งเป็นองค์กรชำนาญพิเศษของ OIC ได้ให้เงินสนับสนุน และเงินกู้ในการสร้างโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในไทยจำนวนมาก รวมทั้งทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยมุสลิมเพื่อศึกษาในประเทศไทยมาโดยต่อเนื่อง
ดังนั้น การเยือนไทยครั้งนี้จะเป็นโอกาสอันดียิ่งสำหรับไทย และ OIC ที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านต่างๆ กว้างขวางมากขึ้น ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา และอื่นๆ

รวมทั้งการเตรียมการเข้าร่วมประชุมของรัฐมนตรีต่างประเทศและคณะผู้แทนไทยที่จะเดินทางไปร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ OIC ครั้งที่ 34 ณ กรุงอิสลามาบัด ปากีสถาน ระหว่างวันที่ 15 - 17 พฤษภาคม 2550 อีกด้วย ปัจจุบัน OIC มีสมาชิกทั้งหมด 57 ประเทศ โดยไทยเข้าเป็นผู้สังเกตการณ์ (Observer State) ของ OIC เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2541


คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com