www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 78 คน
 สถิติเมื่อวาน 96 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
447 คน
50234 คน
1742678 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13


 
 
ชีวิตนักข่าว…โครงกระดูกบ้านโคกตะโหนด ฉลอง
ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
19 มีนาคม 2553

ผมต้องบอกท่านว่า การเป็นนักข่าวของผม มีเรื่องราวที่น่าสนใจยิ่ง เพราะได้รู้ได้เห็น ก่อนคนอื่น ผมจำได้ว่า เมื่อปี 2535  ผมได้ไปทำข่าวที่ บ้านโคกตะโหนด ตำบลฉลอง อ.เมืองภูเก็ต อันเป็นสถานที่พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ คล้ายกับหลุมฝังศพของชาวยุโรป ในยุคโบราณ ที่มาเสียชีวิตที่นี่ จะอยู่ริมชายหาดอ่าวฉลอง ท่านคงจะสงสัยใช่ไหมครับ สถานที่ที่ผมว่า อยู่ตรงไหนหนอ ผมอยากจะให้ท่านตามผมมา โดยให้เริ่มต้นการเดินทางที่ หน้าโรงเรียนดาวรุ่ง ภูเก็ต ให้ท่านขับรถมุ่งหน้าไปทาง ตำบลฉลอง จนกระทั่งท่านขับรถมาถึงสามแยกป่าหล่าย เมื่อถึงตรงนี้ให้ท่านขับรถต่อไปอีกประมาณ 500 เมตร ก็จะเห็นสะพาน ทางขวามือ สามารถเลี้ยวขวาไปวัดฉลอง ส่วนทางซ้ายมือ เมื่อท่านเลี้ยวรถเข้าไป ประมาณ 200 เมตร ก็จะเป็นที่ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ สาเหตุที่พบโครงกระดูก ก็เพราะเจ้าของที่ดินคือบริษัท งานทวี พี่น้อง จำกัด (ในสมัยนั้นตอนนี้ที่ดินตรงนั้นอาจจะเปลี่ยนมือไปแล้ว) ได้มีการสร้างกำแพง เมื่อมีการขุดลงไปจึงพบ โครงกระดูกดังกล่าว
 
การทำข่าวของผมก็จะต้องหาข้อมูลจากนักประวัติศาสตร์ ท้องถิ่น และผู้ที่มีชื่อเสียง และเป็นปราชญ์ ชาวบ้านที่ชาวภูเก็ตรู้จักกันดีคือ คุณประสิทธิ ชินการณ์  ที่เป็นคนรอบรู้ในเรื่องนี้ และคุณประสิทธิ ชินการณ์ ก็ได้ให้ข้อมูลเรื่องโครงกระดูกมนุษย์โบราณ กับผม เมื่อ วันที่ 2 มีนาคม 2535 และผมได้เก็บบันทึกไว้นานถึง 19 ปี ที่จะได้นำมาถ่ายทอดให้ท่านได้ฟังดังต่อไปนี้
 
บ้านโคกตะโหนด ตำบลฉลอง อ.เมืองภูเก็ต  เป็นพื้นที่ตั้งอยู่ริมปากคลองบางใหญ่ ซึ่งไหลออกสู่อ่าวฉลอง สมัยก่อนคลองบางใหญ่ เป็นคลองที่กว้างใหญ่ และลึกมาก จนเรือใบขนาดสามหลักสามารถแล่นเข้ามาตามลำคลองไปถึงวัดฉลอง และบ้านตลาดนั่งยอง ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งคลองได้โดยสะดวก ชาวบ้านฉลองส่วนใหญ่ อาศัยคลองแห่งนี้ เป็นทางสัญจรเพื่อติดต่อกับชุมชนอื่น และอาศัยน้ำในลำคลองใช้ในการทำนา
 
อ่าวฉลอง เป็นอ่าวฝั่งตะวันออกของภูเก็ต ซึ่งเรือสินค้าที่เดินทางระหว่าง มะละกา ปีนัง ภูเก็ต และระนอง ตะกั่วป่า ใช้จอดทอดสมอกำบังลมในหน้ามรสุมได้ดี 
 
เรือสินค้าที่เดินทางมาค้าขายที่เมืองภูเก็ต ตะกั่วป่า และระนอง จะต้องผ่านอ่าวฉลองอยู่เสมอ เพราะตำบลฉลอง มีชุมชนใหญ่ตั้งอยู่ เช่นเดียวกับ เมืองภูเก็ต บ้านสามกอง และบ้านกะทู้ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ริมฝั่งคลองใหญ่ที่ไหลผ่านแผ่นดินเมืองภูเก็ตทั้งสิ้น
 
โครงกระดูกที่ขุดพบในพื้นที่บ้านโคกตะโหนด ริมฝั่งคลองบางใหญ่ในขณะนี้ มีจำนวนหลายศพพร้อมกับเครื่องใช้ทองเหลืองบางอย่าง คือ เซี้ยนหมาก ตะบันหมาก และเงินเหรียญไทยสมัยรัชกาลที่ 5 รวมทั้งเครื่องถ้วยชาม และขวดแก้ว ที่มีอักษรปรากฏว่า เป็นสินค้าทำจากประเทศยุโรป คือ อังกฤษ และฮอนลันดา นั้น สันนิษฐาน ดังนี้
 
เป็นโครงกระดูกของพ่อค้า หรือชาวเรือสินค้าที่เดินทางมาติดต่อค้าขายระหว่าง ชะวา มะลายา ภูเก็ต ตะกั่วป่า ระนอง และตะนาวศรี ในสมัยรัชกาลที่ 6 แห่งกรุงเทพมหานคร ประมาณปี พ.ศ. 2455 ซึ่งเป็นปีที่เมืองไทยเกิดโรคระบาด ฝีดาษ อย่างรุนแรง ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ผู้คนเหล่านี้อาจป่วยตายด้วยโรคฝีดาษ ที่ระบาดอย่างรุนแรง ระหว่างการเดินทางจากมลายู มายังภูเก็ต หรืออาจจะเป็นระหว่างการเดินทางมาจากตะกั่วป่า มาภูเก็ต และเสียชีวิตลงในเรือ ผู้ที่ยังเหลืออยู่ จึงแวะเรือมายังบ้านโคกตะโหนด โดยนำเรือแล่นเข้ามาทางคลองบางใหญ่ และนำศพขึ้นฝังไว้ริมตลิ่ง ซึ่งว่างเว้นผู้คนอาศัย แล้วนำเรือแล่นกลับไป สำหรับเครื่องทองเหลืองและเงินนั้น ก็คงถูกฝังไว้ให้แก่ผู้เป็นเจ้าของตามประเพณีการฝังศพของคนสมัยก่อน ที่มักนิยมฝังของมีค่าลงไว้ในหลุมศพของผู้เป็นเจ้าของ
 
ศพเหล่านี้อาจมีศพคนไทยรวมอยู่ด้วย ร่องรอยเซี่ยนหมากที่มีปูน และยาเส้น คู่ใช้จึงยังมีเหลือให้ปรากฏ ตามประเพณีไทยจะทำพิธีศพโดยการเผา แต่เมื่อเกิดกรณีจำเป็นอย่างโรคระบาดเช่นนี้ ก็คงจะต้องใช้การฝังอย่างฉุกเฉิน ได้เหมือนกัน
 
พบว่าภาคใต้ของเมืองไทย โดยเฉพาะเมืองภูเก็ตนั้น โรคฝีดาษมักระบาดอยู่บ่อย ๆ สืบต่อมาจนกระทั่งปี พ.ศ. 2486 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นนำทหารเข้ามาพักที่ภูเก็ต ก็ยังมีโรคไข้ทรพิษหรือฝีดาษระบาดอยู่ พึ่งจะหมดสิ้นไป เมื่อประมาณ 50 ปีนี่เอง
 
คุณประสิทธิ์ ชินการณ์ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการสันนิษฐาน ส่วนข้อเท็จจริงที่ถูกต้องยิ่งกว่านี้ จำเป็นต้องรอการพิสูจน์ สิ่งที่ขุดพบและทำการศึกษาอย่างละเอียดต่อไป
 
ต้องบอกว่านั่นเป็นความเห็นของ คุณประสิทธิ์ ชินการณ์ ที่ได้แสดงความเห็นต่อเรื่องนี้ ที่เป็นจริงอยู่มาก คราวที่ผมไปทำข่าวคราวนั้น ผมได้เดินทางไปดูด้วยตนเอง และเป็นสถานที่ ที่มีการขุดเพื่อทำกำแพง ซึ่งเป็นที่ของ ตระกูลงานทวีและพี่น้อง  ศพที่ผมเห็น เพียงแต่ใช้มือโกยดินทรายที่ฝังอยู่เบา ๆ ก็จะเห็นโครงกระดูก เพราะฝังไม่ลึก ที่ข้างกะโหลก ทั้งสองด้านซ้ายขวา จะมีตลับหมาก ที่ทำด้วยทองเหลือง วางอยู่ และข้างในยังมีปูนสีขาวเหลืออยู่ก้นตลับ เมื่อดูการแต่งกายของโครงกระดูกที่พบ การแต่งกายเหมือนผู้ดี ใส่เสื้อผ้าออกทางยุโรป เพราะดูแล้ว เนื้อผ้าค่อนข้างหนา แต่ผมก็เสียดายมาก ที่ทางพิพิธภัณฑ์ เข้าไปดูช้าไปหน่อย เพราะคนงานที่ขุด คงจะได้เอาของมีค่าไปขายจนเกือบหมดแล้ว จากวันนั้น คือ พ.ศ. 2535 มาจนถึง ปี 2553 สภาพพื้นที่ตรงนั้น คงจะเปลี่ยนแปลงไปจนหมดสิ้นแล้ว เพราะนี่ก็ ย่างเข้าปีที่ 19 ปี อืม..น่าเสียดายประวัติศาสตร์ของภูเก็ตที่เปลี่ยนแปลงไป 

๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙



ภูเก็ตสูญเสีย “ครูประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” นายประสิทธิ ชิณการณ์ ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขามนุษยศาสตร์ พุทธศักราช ๒๕๓๐ xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:office" />xml:namespace prefix = o />

 

ศาสตราจารย์ อภินันท์ โปษยานนท์ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม แจ้งว่า “นายประสิทธิ  ชิณการณ์  ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม  สาขามนุษยศาสตร์  พุทธศักราช  ๒๕๓๐ ได้ถึงแก่กรรมแล้ว เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๔ เวลา.๐๓.๒๕ น. (โดยประมาณ) ณ โรงพยาบาลสิริโรจน์ภูเก็ต   เลขที่ ๔๔ ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร. ๙  อำเภอเมืองภูเก็ต  จังหวัดภูเก็ต  ด้วยโรคมะเร็ง  รวมอายุ  ๘๗  ปี 

        

ทั้งนี้ จะจัดพิธีสวดพระอภิธรรม ในระหว่างวันที่ ๑๗ - ๒๑  มกราคม  ๒๕๕๔  เวลา  ๒๐.๐๐ น.  ณ ศาลา ๑ วัดไชยธาราราม  อำเภอเมืองภูเก็ต  จังหวัดภูเก็ต และจะมีพิธีฌาปนกิจศพ ในวันเสาร์  ที่  ๒๒  มกราคม ๒๕๕๔     เมรุวัดไชยราราราม

         

ในการนี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ได้จัดสวัสดิการช่วยเหลือผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมที่ถึงแก่กรรม  โดยเป็นเงินช่วยเหลือเพื่อร่วมบำเพ็ญกุศลศพ  ๑๐,๐๐๐ บาท 

         

อนึ่ง นายประสิทธิ  ชิณการณ์ ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม  สาขามนุษยศาสตร์ พุทธศักราช ๒๕๓๐   เกิดเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๖๗ ท่านเป็นผู้รอบรู้ประวัติศาสตร์ภูเก็ต ท่านได้ทำหน้าที่ “ครูประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภูเก็ต”   ผู้เชี่ยวชาญวัฒนธรรม  ที่ปรึกษาองค์กรท้องถิ่นหลาย ๆ องค์กร  บทความสำคัญของท่านหลายเรื่อง อาทิ ถลาง ภูเก็จ และภูเก็ต, ซินแขะเมืองทุ่งคา, ประเพณีกินผัก, คำจีนที่ใช้ในภูเก็ต นับเป็นผู้ถ่ายทอดความเข้าใจ  ความรอบรู้  เรื่องราวประวัติศาสตร์ท้องถิ่น  ต่อแวดวงผู้สนใจและเยาวชน ท่านสละเวลาอันมีค่าของท่านให้กับการสร้างสรรค์วรรณกรรมอันเป็นภูมิปัญญา  เพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวมทั้งในอดีตและปัจจุบันโดยแท้  กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์ภูเก็ต เยาวชน และบุคคลทั่วไปต่างก็ได้รับและเก็บเกี่ยวต่อยอดผลงานจากท่านไว้อย่างมาก ครู อาจารย์ นักคิด นักเขียนหลายคน ก็ได้รับโอกาสและแรงบันดาลใจมาจากท่าน  ผลงานที่สำคัญของท่านคือการอ่านและตีความจดหมายของท้าวเทพกระษัตรี ฯลฯ   

         

ในด้านการทำงานเพื่อสังคม นอกจากด้านประวัติศาสตร์ ท่านมีความสามารถ ความคิดริเริ่ม  ความเสียสละเพื่อส่วนรวม  อีกทั้งเพียงพร้อมด้วยคุณธรรม

นายประสิทธิ  ชิณการณ์ จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม  สาขามนุษยศาสตร์  พุทธศักราช  ๒๕๓๐ 

...........................................................

หมายเหตุ ทายาทที่สามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมคือ นายศาณิต  ชิณการณ์ (บุตร)  ๐๘๑  ๐๘๗  ๑๕๐๒

 


 

คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com