www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 2 คน
 สถิติเมื่อวาน 115 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2592 คน
14416 คน
1706860 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

         

           

 การเลือกตั้งในอดีตของภูเก็ต

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
2 กุมภาพันธ์ 2553
 
นับตั้งแต่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครอง เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย เป็นต้นมา รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย ก็ได้จัดให้มีการเลือกตั้งตามครรลองแห่งประชาธิปไตยตลอดมา ถึงแม้นบางช่วงจะมีการปฏิวัติ รัฐประหาร หรือ ปฏิรูปการปกครองก็ตาม
 
ภูเก็ตเป็นจังหวัดหนึ่งที่ให้ความร่วมมือ ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยตลอด ไม่เคยมีการเลือกตั้งครั้งใดที่ชาวภูเก็ตไปใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุดในประเทศไทย ในบาลครั้งจังหวัดภูเก็ตยังไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดในประเทศอีกด้วย
 
การเลือกตั้งครั้งสำคัญ ๆ ที่ประชาชนชาวภูเก็ตมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งของไทย มีดังนี้
 
ครั้งที่ 1 นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย ที่จัดให้มีการเลือกตั้งขึ้น การเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นการเลือกตั้งทางอ้อม โดยมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้กรมการอำเภอดำเนินการเลือกตั้งผู้แทนตำบล ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม -15 พฤศจิกายน 2476 เพื่อให้ผู้แทนตำบลเลือกตั้งผู้แทนราษฎรอีกทีหนึ่ง
 
การเลือกตั้งครั้งนี้ได้ผู้แทน 78 คน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ตคนแรก คือ พระยาไสยสุนทรการ (พิตร์ ณ ถลาง )   จังหวัดที่มีผู้ไปใช้สิทธิมากที่สุดคือ จังหวัดเพชรบุรี คิดเป็น 78.82 % แม่ฮ่องสอน มีผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุด คิดเป็น 17.71 %
 
ครั้งที่ 2 เป็นการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรโดยตรง เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2480 มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 91 คน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดภูเก็ต คือ ขุนชินสถานพิทักษ์ (ตันยู่อี่ ตัณฑวนิช) จังหวัดที่มีผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุด คือ จังหวัดนครนายก จังหวัดที่มีผู้ไปใช้สิทธิน้อยที่สุดคือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในช่วงการเลือกตั้งครั้งที่ 2 นี้มีการยุบสภาครั้งแรก เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2481
 
ครั้งที่ 3 เป็นการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรโดยตรง เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2481 จำนวน ผู้แทนราษฎร 91 คน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดภูเก็ตคือ นายชิต เวชประสิทธิ์   จังหวัดที่มีผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุด คือ จังหวัดนครนายก 67.36 % จังหวัดที่มีผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุด คือ จังหวัดตรัง 26.28 % ในช่วงนี้ ญี่ปุ่นบุกเมืองไทย เกิดขบวนการเสรีไทย ประเทศไทยเข้าสู่สงครามโลก ครั้งที่ 2 ไทยประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกา
 
ครั้งที่ 4 เลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2489 จำนวนผู้แทน 99 คน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ตคือ นายชิต เวชประสิทธิ์ จังหวัดที่มีประชากรไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดคือ จังหวัดบุรีรัมย์ 54.65 %  จังหวัดที่มีประชากรไปใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุดคือจังหวัดสุพรรณบุรี 13.40 %
 
ครั้งที่ 5 เลือกตั้งเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2491 การเลือกตั้งครั้งนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ตคือ ขุนประเทศจีนนิกร (กวนฮก ตันทัย)
 
ครั้งที่ 6 เลือกตั้งเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2495 การเลือกตั้งครั้งนี้ คุณหญิงแร่ม พรหมโมบล บุณยประสพ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภูเก็ต จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิมากที่สุดคือ จังหวัดสระบุรี  จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิน้อยที่สุดคือ จังหวัดพระนคร 23.03 %  
 
ครั้งที่ 7 นับเป็นการเลือกตั้งที่สกปรกที่สุดในประวัติการเมืองไทย เลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2500 เป็นครั้งแรกที่ใช้ประชาชนแสนห้าหมื่นคนต่อผู้แทน 1 คน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต คือ นายสตางค์ พุทธรักษา จังหวัดที่มีผู้ไปใช้เสียงมากที่สุดคือ จังหวัดสระบุรี 93.50 %  จังหวัดที่มีผู้ไปใช้เสียงน้อยที่สุดคือ จังหวัดสุพรรณบุรี 42.06 %
 
ครั้งที่ 8 เลือกตั้งเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2500 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ตคือ คุณหญิงแรม พรหมโมบล บุณยประสพ
 
ครั้งที่ 9 เลือกตั้งเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2512 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดภูเก็ต คือ นายชิต เวชประสิทธิ์ จังหวัดที่มีผู้มาเลือกตั้งมากที่สุด คือ จังหวัดจังหวัดระนอง 73.95 %  จังหวัดที่มีผู้ไปใช้สิทธิน้อยที่สุดคือ จังหวัดพระนคร 34.66 % (ในช่วงนี้เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 วันมหาวิปโยค)
 
ครั้งที่ 10 เลือกตั้งเมื่อ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ตคือ นายอมรศักดิ์ องค์สรณะคม จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิมากที่สุดคือ จังหวัดภูเก็ต 69.87 % จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิน้อยที่สุดคือ จังหวัดเพชรบูรณ์ 32.18 %(ยุบสภาเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ.2519 )
 
ครั้งที่ 11 เลือกตั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ตคือ นายเอี่ยมศักดิ์ หลิมสมบูรณ์  จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิมากที่สุด คือ จังหวัดนครพนม 63.53 %  จังหวัดที่มีผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุดคือ จังหวัดเพชรบูรณ์ 26.64 %  (เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519)
 
ครั้งที่ 12 เลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2521 สมาชิสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ตคือ นายจรูญ เสรีถวัลย์ จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดคือ จังหวัดยโสธร 77.11 %  จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิน้อยที่สุดคือ กรุงเทพมหานคร 22.56 %
 
ครั้งที่ 13 เลือกตั้งเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2526 นายจรูญ เสรีถวัลย์ ได้รับเลือกเป็น ส.ส.อีกครั้งหนึ่ง จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิมากที่สุด คือ จังหวัดยโสธร 79.62 % จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิน้อยที่สุดคือ กรุงเทพมหานคร (ยุบสภาในวันที่ 1 พฤษภาคม 2529)
 
ครั้งที่ 14 เลือกตั้งเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2529 นายเรวุฒิ จินดาพล รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต ( ยุบสภาอีครั้งในวันที่ 17 เมษายน 2531)
 
ครั้งที่ 15 เลือกตั้งในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 นายเรวุฒิ จินดาพล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นสมัยที่ 2 และได้เกิดการปฏิวัติ โดย คณะ รักษาความสงบแห่งชาติ หรือ รสช. เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 มีการร่างประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
 
ครั้งที่ 16 เลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2535 นายเรวุฒ จินดาพล ได้รับการเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ตเป็นสมัยที่ 3 จังหวัดที่มีผู้ไปใช้สิทธิการเลือกตั้งมากที่สุดคือ จังหวัดมุกดาหาร 87.11 % จังหวัดที่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งน้อยที่สุดคือ กรุงเทพมหานคร 42.57 %
 
ภายหลังการเลือกตั้ง รัฐบาลเสียงข้างมากได้เชิญ พลเอกสุจินดา คราประยูร ผบ.ทบ. และ ผบ.สส. เป็นนายกรัฐมนตรี สร้างความไม่พอใจกับประชาชนเพราะถือว่าเป็นการสืบทอดอำนาจเผด็จการจากคณะ “รสช.” จนได้เกิดการชุมนุมประท้วงและเกิดเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” มีประชาชนล้มตายและบาดเจ็บจำนวนมาก ภายหลังจากนั้น รัฐบาล พลเอกสุจินดา คราประยูรได้ประกาศลาออกจากประธานรัฐสภาแต่ตั้ง นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี   สมัยที่ 2 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ประกาศยุบสภา
 
ครั้งที่ 17 เลือกตั้งวันที่ 13 กันยายน 2535 นางอัญชลี วานิช เทพบุตร ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมัยที่ นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาได้ยุบสภา กรณี สปก.4-01
 
ครั้งที่ 18 เลือกตั้งวันที่ 2 กรกฎาคม 2538 นางอัญชลี วานิช เทพบุตร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นสมัยที่ 2 โดยมี นายบรรหาร ศิลปะอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี และยุบสภาเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2539
 
ครั้งที่ 19 เลือกตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2539
 
กำลังหาข้อมูล โปรดติดตามตอนต่อไป
 
* * * * * * * * *
 
 
 

คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com