www.narongthai.com  

www.narongthai.com เป็นเว็บไซต์เชิงวิชาการ ที่สามารถนำอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ                                                                                                                                                                                                                                                                           
 

 ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100010475651732
สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

 

 

 

 

 

 

 สถิติวันนี้ 9 คน
 สถิติเมื่อวาน 160 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2189 คน
14013 คน
1706457 คน
เริ่มเมื่อ 2010-01-13

 

ประวัติ อำเภอตะกั่วป่า ตอน 2
ข้อมูล ปี 2509 นายกระจ่าง ศิรินทรนนท์ เป็นนายอำเภอตะกั่วป่า
ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ รวบรวม

ความสำคัญทางประวัติศาสตร์
เมืองตะกั่วป่า หรือ ตะโกลา เป็นเมืองท่าสำคัญของเมืองทอง หรือ หรือสุวรรณภูมิอันเป็นประเทศสยาม หรือ ประเทศไทย ในปัจจุบัน ชนชาติทางด้านมหาสมุทรอินเดีย และด้านมหาสมุทรแปซิฟิก ดังปรากฏหลักฐานจากหนังสือมิลินทปัญหาและจดหมายเหตุของปโตเลมี ดังกล่าวมาแล้ว พ.ศ. 2478 สมาคมนักปราชญ์หลายสมาคม ส่งผู้แทนนักโบราณคดีคณะหนึ่งมาตรวจค้นหาเส้นทางการค้าขาย

ครั้งโบราณ ดร.ควอริตช เวลส์ ( Dr.H.G. Quaritch Wales ) ผู้สำรวจกล่าวว่า ต้นน้ำตะกั่วป่าห่างจากต้นน้ำตาปี 200 เส้น และเมืองท่า ทางชายทะเลตะวันตกคงจะอยู่ที่ตำบลทุ่งตึกบนเกาะที่ปากน้ำตะกั่วป่า (คือทุ่งตึก) บนเกาะคอเขา (กิ่งอำเภอเกาะคอเขา เดี๋ยวนี้) ขณะนี้พบเศษถ้วย ชาม โอ่ง ไห ของโบราณมาก เป็นของมาจากเมืองจีนก็มีและของชาวเปอร์เซีย ก็มี ตามลำน้ำตะกั่วป่า เดี๋ยวนี้ตื้นเขินมากเนื่องจากการทำเหมืองแร่ ฤดูแล้งไปได้แต่เรือสำปั่น ส่วนฤดูฝนเรือยนต์ย่อม ๆ พอไปได้ และกล่าวต่อไปว่าเมื่อสัก 70 ปี มาแล้วมีคนได้พบส่วนของเรือ (ที่เป็นกระดูกงู) เป็นท่อนไม้ยาว 74 ฟิต ที่คลองกะปง ลึกจากปากน้ำตะกั่วป่าเข้าไปกว่า 200 เส้น และในครั้งนี้ท่านผู้ตรวจค้นก็ได้ท่อนไม้แกะเป็นรูปหญิงชาวยุโรป ตอนศีรษะสูง 3 ฟิต ซึ่งทางพิจารณาเชื่อว่า เป็นรูปสำหรับติดหัวเรือขนาดระวาง 200 ตัน และเป็นเรือรุ่น พ.ศ. 2363-2373 จึงเชื่อว่าครั้งโบราณแม่น้ำตะกั่วป่าลึกพอที่ลำเลียงใหญ่ ๆ จะเข้าไปได้ไกลจากปากน้ำยาวมากประมาณว่าถึงภูเขาที่เรียกว่า เขาพระนารายณ์ ซึ่งพบศิลาจารึกหลักที่ 26 (ประชุมศิลาจารึกสยามภาค2) วิหารชายทะเล

ดร.เวลส์ กล่าวว่า มีสถานโบราณแห่งหนึ่งมีวิหารมากจนเรียกว่าพงตึก (คงเพี้ยนจากคำว่าทุ่งตึก) พื้นที่เป็นลานทราย ยาวประมาณ 180 วา ไปตามทิศอุตรีสาณ กว้างประมาณ 110 วา ที่ใกล้ ๆ กัน เป็นที่น้ำเซาะ มีกระเบื้องจีนคริสต์ศตวรรษที่ 3-8 และกระเบื้องเปอร์เซีย ในจดหมายอาหรับว่า ที่เมืองตะโกลามีคนชุมนุมทำการค้ากันวันหนึ่งตั้งหมื่นคนและมากชาติมากภาษา เพราะถ้าไม่มีการเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมากถึงขนาดนั้น ก็ไม่อาจมีสินค้า เช่น กระเบื้องแตกตกอยู่มากมายถึงเพียงนั้น ที่ทุ่งตึกมีโคกหรือเนิน 3 แห่ง เศษของอิฐแตกกระจายเกลื่อนกลาดเป็นเครื่องสังเกตว่าเป็นวิหารซึ่งอาจเคยประดิษฐาน
องค์พระนารายณ์ที่ทิ้งอยู่กลางป่า(หมายถึงปากเวียง) เวลานี้

ยิ่งกว่านั้นในหนังสือเรื่องเมืองทองหรือสุวรรณภูมิและหนังสือแนวสังเขปโบราณคดีรอบอ่าวบ้านดอน
หลายตอนพอจะยกมาเป็นที่อ้างกล่าวว่าพ่อค้าชาวอินเดียและเปอร์เซียรู้จักใช้ช่องมะละกาเป็นเส้นทางค้าขายอ้อมแหลมมลายูมา แล้ว แต่ครั้นการเดินเรือของพ่อค้าเจริญขึ้น โจรสลัดยิ่งมากขึ้น เที่ยวสกัดตีชิงทรัพย์สมบัติและฆ่าคนเสียมากมายจนเป็นที่หวาดกลัว ไม่มีพ่อค้าชาติใดกล้าผ่านช่องแคบมะละกาอีก อนึ่ง ที่เมืองตะโกลา (เมืองตะกั่วป่า) เป็นที่ชัยภูมิดี จอดเรือทอดสมอบังคลื่นลมมรสุมได้สะดวก พ่อค้าวานิชจึงได้เลือกเส้นทางตะกั่วป่าบ้านดอน เป็นเส้นทางคมนาคม

อนึ่ง เพื่อเป็นการยืนยันเรื่องโจรสลัดในชายทะเลที่ยังตกค้างสืบมาอยู่บ้างจนถึงประมาณ พ.ศ.2400 อันเป็นเหตุให้พ่อค้าหรือชาวเรือต้องเลือกเส้นทางตะกั่วป่า-อ่าวบ้านดอน เป็นเส้นทางข้ามแหลมมลายู

คุณยายอุ่น ณ นคร ภรรยาพระสมบัติยานุรักษ์ (หงษ์) ซึ่งเป็นบุตรชายคนโตของท่านชื่อ ขุนอินคีรี (ช้อย) และเป็นบุตรเขยของพระนรเทพภักดี (สิทธิ ณ นคร) ผู้รั้งเมืองตะกั่วป่า พ.ศ. 2438-2441 ชาวตะกั่วป่าเรียกว่าท่านผู้รั้ง ขณะนั้น คุณยายอุ่นอายุประมาณ 80 ปีเศษ (ประมาณพ.ศ.2480 ) แม้นขณะนั้นท่านจะมีอายุปูนชรามาก แต่สุขภาพยังสมบูรณ์เป็นปกติจิตใจไม่ฟั่นเฟือนยังจำเหตุการณ์ได้ดี เล่าให้ฟังว่า เมื่อท่านยังเล็กเป็นผู้เยาว์อยู่สิ่งสำคัญที่กรมการเมืองตะกั่วป่าถือปฏิบัติเคร่งครัดอยู่อย่างหนึ่ง คือ การปราบปรามโจรสลัด ตามทะเลหน้าเมืองตะกั่วป่า การปราบปรามทำกันทุกปีมิได้ขาด กล่าวคือ ในฤดูฝน ก็เร่งรัดให้พลเมืองหรือเชลยศึกของเราอันมีอยู่ที่บ้านบางกรักใน บ้านบางกรักนอก บ้านทุ่งใหญ่ อันอยู่ที่ชานเมืองตะกั่วป่า รีบทำนาปลูกข้าวและเก็บเกี่ยวเพื่อเป็นเสบียงกรัง พอปลายฤดูฝนก็เร่งรัดให้พวกพลรบหรือพลพายขูดท้องเรือ ตอกหมัน ลงชัน ลงน้ำมันเรือเร็วซึ่งมีประจำมากลำเสร็จสรรพ พอเข้าฤดูแล้ง คลื่นลมมรสุมสงบพอจะออกเรือสู่ทะเลได้( ตะกั่วป่าด้านนอกเป็นมหาสมุทรอินเดียคลื่นลมจัดตลอดฤดูฝน 6 เดือน เป็นอย่างน้อย เรือเล็กออกทะเลไม่ได้) บรรดาพลรบก็จะออกเรือเที่ยวลาดตระเวนตามชายฝั่งจับโจรสลัดตลอดหน้าเมืองตะกั่วป่า สลัดที่จับมาได้ เจ้าเมืองชำระคดีแล้วก็ให้เพชฌฆาตนำตัวไปประหารที่หาดฆ่าคน

มีประเพณีเล่าว่าเมื่อประหารแล้วศีรษะเอาไปเสียบประจานไว้ฝั่งคลองโน้น คือ ปากคลองบางพลับพลึง ส่วนลำตัวถ้ามีญาติจะรับเอาไปบำเพ็ญกุศลก็อนุญาต แต่หัวไม่ให้ (หาดฆ่าคนเป็นสถานที่ติดประวัติศาสตร์มานานปี ขณะเรียบเรียงนี้เรือขุดแร่ขุดหมดแล้ว เพราะหาดทรายอยู่ริมแม่น้ำตะกั่วป่า แต่ยังพอจะชี้ตำแหน่งแห่งที่ได้ หาดฆ่าคนและปากคลองบางพลับพลึง บัดนี้อยู่ตรงกันข้ามหน้าบ้านนายทรง ชูทอง ผู้ใหญ่บ้านทุ่งหัวนาปัจจุบัน ข้อมูลนี้พ.ศ.2509นะครับ)


คลิ๊กนี้มีความหมาย

ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 : Webmaster by Narong Cheunniran : อีเมล์ :narongthai53@gmail.com